|
|
|
|
|
|
|
|
|
การเจาะสำรวจดินทางวิศวกรรม
:
การเจาะสำรวจ เก็บตัวอย่างและการทดสอบในสนาม |
Soil Investingation
: B
oring, Sampling and Field Tests |
|
สถาพร คูวิจิตรจารุ |
|
|
สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์,
กรุงเทพฯ |
247 หน้า ราคา 200 บาท |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
หนังสือการเจาะสำรวจดินทางวิศวกรรม
: การเจาะสำรวจ เก็บตัวอย่างและการทดสอบในสนาม (Soil Investigation
: Boring, Sampling and Field Tests) เล่มนี้รวบรวมจากประสบการณ์ของผู้เขียนที่เกี่ยวข้องกับศาสตร์ในสาขาวิชานี้มามากกว่า
20 ปี ทั้งในด้านการสอน การอบรมสัมมนาบุคลากร การปฏิบัติด้วยตัวเองทั้งในด้านการออกแบบผลิตเครื่องมือ
ปฏิบัติการเจาะสำรวจดิน จัดทำรายงานการเจาะสำรวจดิน ออกแบบฐานรากอาคารจากผลการเจาะสำรวจดิน
และท้ายสุดได้รวบรวมเป็นรูปแบบของเอกสารประกอบการสอนวิชาปฐพีกลศาสตร์
(Soil Mechanics) และ วิชาวิศวกรรมฐานราก (Foundation
Engineering) มหาวิทยาลัยและสถาบันต่าง ๆ ซึ่งผู้เขียนเห็นว่าสมควรจะได้จัดพิมพ์เพื่อเผยแพร่ทั่วไปสำหรับนักศึกษา
ช่างเทคนิค และวิศวกรที่ปฏิบัติการในศาสตร์ด้านนี้ |
|
|
|
|
|
ในหนังสือเล่มนี้ได้รวบรวมหัวข้อหลักในการปฏิบัติการในสนาม
หลักการที่ใช้ปฏิบัติในงานด้านปฐพีกลศาสตร์และวิศวกรรมฐานราก
โดยใช้เครื่องมือที่ปฏิบัติการจริงครอบคลุมถึงวิธีการที่มีการประยุกต์ใช้ในประเทศไทยในรายละเอียด
ส่วนเครื่องมือและวิธีการทดสอบที่มีใช้น้อย ได้รวบรวมไว้เป็นเกณฑ์ |
|
|
|
|
|
ในบทที่
1 จะเป็นวิธีการเจาะสำรวจ เก็บตัวอย่างดิน และการทดสอบวิธีต่าง
ๆ สรุปวิธีการทดสอบ ข้อดี และข้อเสียต่าง ๆ การวางแผนการเจาะสำรวจดิน
การจัดเตรียมข้อกำหนดรายละเอียดงานเจาะสำรวจดินการจัดเตรียมระเบียนปริมาณวัสดุการเจาะสำรวจดินจากบทที่
2 ถึงบทที่ 6 จะเป็นรายละเอียดการเจาะสำรวจ เก็บตัวอย่างดิน
และการทดสอบในสนามหลัก ส่วนบทที่ 7 จะเป็นรายละเอียดการทดสอบสนามอื่น
ๆ เพิ่มเติมโดยรวมเอกสารอ้างอิงซึ่งเป็นตำรา และบทความในต่างประเทศเป็นหลัก
ได้รวบรวมไว้หลังบทสุดท้ายเพื่อการค้นคว้าเพิ่มเติมในรายละเอียด |
|
|
|
|
|
ผู้เขียนหวังว่า
หนังสือเล่มนี้คงมีประโยชน์ต่อนักศึกษาที่กำลังศึกษาวิชาปฐพีกลศาสตร์
(Soil Mechanics) การทดสอบดินในห้องทดลอง (Soil Laboratory
Test) และวิชาวิศวกรรมฐานราก (Foundation Engineering)
ส่วนช่างเทคนิค วิศวกร ผู้ปฏิบัติการในอาชีพนี้อยู่ หนังสือเล่มนี้คงได้มีส่วนเสริมความรู้หรือเป็นข้อเปรียบเทียบการปฏิบัติที่ใช้อยู่
ผู้เขียนยินดีรับข้อคิดเห็น ข้อบกพร่องต่าง ๆ เกี่ยวกับหนังสือเล่มนี้
เพื่อปรับปรุงในการพิมพ์ครั้งต่อไปให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น |
|
|
|
|
|
ผู้เขียนขอขอบคุณผู้ที่ได้ช่วยเหลือในการจัดพิมพ์หนังสือเล่มนี้ด้วยประการต่าง
ๆ เขียนรูปประกอบ พิมพ์ต้นฉบับด้วยความอุตสาหพยายาม จนกระทั่งเสร็จสมบูรณ์ |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|