หน้าหลัก
เบื้องหลักการถ่ายทำ
 
1. ความถ่วงจำเพาะของเม็ดดิน (ถ.พ.) คืออะไร
 
2. True Specific Gravity (ค่า Gs ที่แท้จริงของดิน) คืออะไร
 
3. มีคำพูดว่า “ค่า Specific Gravity ที่ท่านทำการทดลองได้นี้ไม่ใช่ค่าความถ่วงจำเพาะที่แท้จริงของดิน” คำพูดนี้ถูกต้องหรือไม่ เพราะเหตุใด
 
4. เหตุใดค่า ถ.พ. ของดิน จึงเป็นคุณสมบัติทางกายภาพที่สำคัญของดินทุกประเภท
 
5. ดินที่จะนำมาทำ Specific Gravity จะต้องร่อนผ่านตะแกรงเบอร์อะไร เพราะเหตุใด
 
6. ในการทำ Specific Gravity Test ตัวอย่างดินต้องร่อนผ่านตะแกรงเบอร์ 200 ซึ่งเป็นเบอร์ที่ละเอียดที่สุดในห้อง Lab ถ้าในห้อง Lab มีตะแกรงเบอร์ 300 ท่านจะเตรียมตัวอย่างไปทำ Specific Gravity ด้วยการร่อนด้วยตะแกรงเบอร์ 300 หรือไม่ เพราะเหตุใด
 
7. ปริมาณของดินแห้งที่จะใช้ทำการทดลองมีปริมาณ เท่าใด (หน่วยเป็นกรัม) ถ้าท่านมีดินเปียกจะมีวิธีการอย่างไรโดยไม่ต้องอบดิน
 
8. เหตุใดจึงต้อง Calibrate ขวดหา ถ.พ.
 
9. ในการ Calibrate ค่า W2 ที่อุณหภูมิต่างๆ นั้น จะต้องชั่งน้ำหนัก W2 และวัดอุณหภูมิ ท่านจะชั่งน้ำหนักก่อนวัดอุณหภูมิ หรือวัดอุณหภูมิก่อนชั่งน้ำหนัก เพราะเหตุใด
 
10. ทำไมต้องทำการ Calibrate W2 ที่อุณหภูมิต่างๆ
 
11. ในการทดลองหาค่า ถ.พ. ของดิน เหตุใดจึงต้องกวนดินใน Mixer ก่อนที่จะนำมาทดลองหาค่า W1 (ซึ่งอาจกวนด้วยมือก็ได้)
 
12. สูตรที่ใช้ในการทดลองหาค่า Gs คืออะไร
 
13. Error ที่เกิดขึ้นกับค่า Gs ที่ได้จากการทดลองคืออะไร (ตอบมาอย่างน้อย 2 ข้อ)
14. เหตุใดจึงต้องต้มไล่ฟองอากาศของน้ำที่ใช้ในการหาค่า ถ.พ. ของดิน
 
15. จุดทศนิยมของค่า Gs มีเกณฑ์กำหนดอย่างไร
 
16. ถ้านำดินเหนียวที่ไม่ถูกรบกวน(Undisturbed Sample) มาหาค่า Gs และนำดิน Undisturbed Sample นี้มาขยำให้เป็น Disturbed Sample แล้วนำมาหาค่า Gs จะได้ค่าแตกต่างกันหรือไม่ อย่างไร จงอธิบาย
 
17. ดิน gravel นำมาหาค่า ถ.พ. ได้ค่า 2.68 ถ้านำ gravel นี้ มาบดให้ละเอียด แล้วนำไปหา ถ.พ. จะได้ค่าเป็นอย่างไร จงอธิบาย
เมนูหลักแบบทดสอบก่อนเรียนบทนำทฤษฎีเครื่องมือและอุปกรณ์วิธีการทดลองการคำนวณผลการทดลองแบบทดสอบหลังเรียน 
เชิดพันธุ์ อมรกุล และ ผศ.ดร.สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์
ศูนย์วิจัยและพัฒนาวิศวกรรมปฐพีและฐานราก  ภาควิชาวิศวกรรมโยธา   คณะวิศวกรรมศาสตร์   มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์