|
การหาความถ่วงจำเพาะของเม็ดดินทำได้โดยใช้ขวดหา
ถ.พ.(Pycnometer) ซึ่งมี 2 ขนาดคือ ขวดตวงปากเล็ก
(Volumetric Flask) ขนาด 100 – 500 ลบ.ซม. ซึ่งเหมาะสำหรับดินที่มีขนาดเม็ดใหญ่
และขวดจุกแก้วขนาด 25 -100 ลบ.ซม. สำหรับดินเม็ดละเอียด
แต่วิธีการทดลองส่วนใหญ่เหมือนกันจึงขอกล่าวเฉพาะการใช้ขวดแบบแรกเท่านั้น
|
|
 |
|
 |
|
เมื่อ |
 |
= |
ความหนาแน่นเฉพาะเนื้อดินหรือน้ำ |
|
Ws |
= |
น้ำหนักเนื้อดิน |
|
Ww |
= |
น้ำหนักที่มีปริมาตรเท่าเนื้อดินที่อุณหภูมิ
4๐c |
|
|
น้ำหนักเนื้อดินนั้นเราสามารถหาได้โดยการชั่งน้ำหนักดินอบแห้ง
แต่น้ำหนักน้ำที่มีปริมาตรเท่าเนื้อดิน ทำได้โดยการนำมวลดินไปแทนที่น้ำ
แต่จะมีปัญหาที่จะต้องแก้ไขคือ มักจะเกิดฟองอากาศเล็กๆ
ปนกับน้ำผสมดิน โดยเฉพาะดินเม็ดละเอียด และน้ำหนักของน้ำในขวด
ถ.พ. ที่ระดับขีดปากขวดจะเปลี่ยนแปลงไปกับอุณหภูมิ
จึงต้องมีเทคนิคการแก้ปัญหาดังกล่าวคือ |
|
1.
ชั่งน้ำหนักขวดมีน้ำเต็มที่อุณหภูมิต่างๆ ที่ใกล้เคียงกับการใช้งาน
แล้วเขียนกราฟสำหรับปรับแก้ เรียกว่า "Calibration
of Volumetric Flask" |
|
2.
กำจัดฟองอากาศโดยใช้ปั๊มดูดสุญญากาศ (Vacuum Pump)
หรือใช้วิธีต้มไล่ฟองอากาศ และในขณะเดียวกันก็ใช้น้ำกลั่นที่ปราศจากฟองอากาศ
(De-aired water) มาใช้ในการทดสอบ |
|
 |
เครื่อง de-aired water ( Catalogue ELE) |
|
ผลของการทดสอบหา
ถ.พ. ของดิน จึงมักขึ้นอยู่กับความละเอียดพิถีพิถันของผู้ทดลองเป็นอย่างมาก
จึงขอแสดงค่า ถ.พ. ของดินบางชนิดไว้พอเป็นแนวทางในการพิจารณาเปรียบเทียบกับผลที่ได้ดังในตารางข้างล่าง |
|
ตารางแสดงค่าความถ่วงจำเพาะของดิน |
|
Gs |
|
|
ดินบางเขน |
2.60-2.69 |
ดิน Iowa Loess |
2.70 |
ทราย |
2.65-2.67 |
ดินลูกรัง |
2.70-3.00 |
ดินปนสารอินทรีย์
|
อาจต่ำกว่า 2.00 |
|
|
 |