|
ก. การหากราฟสำหรับหาน้ำหนักน้ำและขวดที่อุณหภูมิต่าง ๆ |
|
เมื่อนำขวดหา
ถ.พ. ใหม่มาใช้ หรือ เมื่อใช้ไปนานพอสมควร ควรจะต้องทำการหากราฟความสัมพันธ์ของน้ำหนักขวดมีน้ำเต็ม
และ อุณหภูมิ โดยทำได้ดังนี้
|
|
1.
ล้างขวด ถ.พ. ให้สะอาดเติมน้ำกลั่นลงไปจนถึงขีดที่คอขวด
(อ่านที่ระดับท้องน้ำ) |
|
|
|
ขั้นตอนที่
1 |
ขั้นตอนที่
2 |
|
|
2.
ต้มไล่ฟองอากาศหรือดูดโดยปั๊มสุญญากาศประมาณ 10
นาที จนฟองอากาศหมด |
|
3.
เติมน้ำปรับระดับน้ำจนเสมอระดับที่คอขวดพอดี เช็ดภายนอกขวดให้แห้ง
แล้วนำไปชั่งน้ำหนัก |
|
|
ขั้นตอนที่
3 |
ขั้นตอนที่
4 |
|
|
4.
วัดอุณหภูมิของน้ำภายในขวดให้ละเอียด โดยวัดที่หลายระดับ
ถ้าอุณหภูมิต่างกันมาก ให้ตะแคง ขวดแล้วกลิ้งไปมาเพื่อให้ผสมเข้ากันดีทำให้อุณหภูมิสม่ำเสมอแล้วจึงบันทึกอุณหภูมิที่ถูกต้อง |
|
5.
ทำเช่นเดียวกับข้อ 3 และ 4 โดยให้ความร้อนหรือทำให้เย็นลงในช่วงอุณหภูมิที่ใช้งาน
(20 ถึง 40๐c) ประมาณ 4–5 จุด เช่นที่
20, 25, 30, 35 และ 40๐c เป็นต้น |
|
6.
เขียนกราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่าง น้ำหนักขวดที่มีน้ำเต็ม
และอุณหภูมิดังแสดงในตัวอย่างรูป |
|
|
ข. การทดลองหาความถ่วงจำเพาะของดิน |
|
1.
นำดินตัวอย่างที่แห้งประมาณ 50 กรัม (ถ้าเป็นดินชื้นต้องเผื่อน้ำหนักความชื้น)
ผสมน้ำกลั่นแล้วกวนให้เข้ากัน โดยใช้เครื่องปั่น
(Mixer Machine) โดยให้ส่วนผสมไม่เกิน 200 ลบ.ซม.
|
|
|
|
2.
เทส่วนผสมน้ำดินลงในขวดหา ถ.พ. ขนาด 250 ลบ.ซม.
แล้วใช้น้ำกลั่นล้างดินที่ติดในภาชนะผสมลงในขวด
ถ.พ.ให้หมดระวังอย่าให้ระดับน้ำเกินขีดวัดปริมาตรที่คอขวด |
|
|
|
3.
ไล่ฟองอากาศโดยการต้มหรือดูดโดยปั๊มสุญญากาศประมาณ
10 นาที จนฟองอากาศหมด แล้วเติมน้ำกลั่นให้ถึงระดับขีดที่คอขวด
แล้วปล่อยให้เย็นถึงอุณหภูมิห้องทดลอง |
|
|
|
ขั้นตอนที่ 3 |
ขั้นตอนที่ 4 |
|
|
4.
ถ้าระดับน้ำลดลงอีก ให้เติมให้เต็มถึงขีด แล้วนำไปชั่งให้ละเอียดถึง
0.1 กรัม แล้ววัดอุณหภูมิของน้ำดินในขวด |
|
5.
เทแล้วล้างส่วนผสมในขวด ถ.พ. ลงในถาด นำไปอบให้แห้งเพื่อชั่งหาน้ำหนักดินที่แน่นอนอีกครั้ง |
|
|
|
|
|
|
ผู้ทดสอบ : |
นายสุปรีชา ฟุ้งกีรติ |
|
|
สถานที่ : |
ห้องปฏิบัติการปฐพีกลศาสตร์ |
|
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ
จังหวัดสกลนคร |
|
|
ผู้บรรยาย : |
นายบรรพตุ กุลสุวรรณ |
|