|
การสำรวจชั้นดิน
คือกรรมวิธีการเจาะลงไปในชั้นดิน, เก็บตัวอย่างดิน, ทดสอบคุณสมบัติดินในสนาม, หยั่งชั้นดินจากผิวดิน หรือใช้เทคนิคอื่น ๆ เพื่อให้ได้มาซึ่งลักษณะชั้นดินทั้งทางแนวดิ่ง และการเปลี่ยนแปลงทางแนวราบ เพียงพอในการที่จะใช้ออกแบบ หรือศึกษาทางด้านปฐพีกลศาสตร์ ลักษณะการสำรวจชั้นดินจะต้องคำนึงถึงประโยชน์ใช้งานด้วย เช่น งานถนนหรือสนามบิน การสำรวจจะกระทำเพียงตื้นๆ แต่งานฐานรากเสาเข็มต้องสำรวจลงไปลึกกว่าปลายเข็มที่คาดว่าจะใช้งานสำหรับในบทนี้จะพูดถึงการสำรวจโดยวิธีเบื้องต้น โดยใช้ สว่านมือ(Hand Auger) การเจาะล้าง (Wash Boring) และการเก็บตัวอย่างดินโดยใช้กระบอกเปลือกบาง (Thin Walled Tube) รายละเอียดมีดังต่อไปนี้ |
|
|
|
1. วิธีเจาะสำรวจชั้นดิน (Soil Boring) |
|
|
|
การเจาะสำรวจชั้นดินคือการเจาะหลุมลงไปในดินเพื่อดูการเปลี่ยนแปลงของชั้นดินและเก็บตัวอย่างดินมาทำการทดสอบคุณสมบัติในห้องปฏิบัติการโดยทั่วไปการสำรวจชั้นดินที่ใช้มากในประเทศไทย ได้แก่ |
|
|
|
|
ก. การเจาะโดยใช้สว่านมือ (Hand Auger) เป็นการเจาะด้วยแรงคน โดยใช้สว่านมือ และก้านเจาะดังรูปด้านล่าง โดยที่ก้านเจาะซึ่งยาวประมาณ 1 เมตร สามารถต่อให้ยาวหลาย ๆ ท่อนได้ เมื่อกดพร้อมๆกับหมุนก้านจนดินเข้ามาเต็มสว่านแล้วจึงดึงขึ้นเพื่อนำดินออก ดินส่วนนี้สามารถนำไปทดสอบคุณสมบัติทางวิศวกรรมบางประเภทได้ การเจาะด้วยสว่านมืออาจทำได้ลึกถึง 6–10 เมตร ในดินเหนียวแข็งปานกลางข้อเสียของการเจาะประเภทนี้คือไม่สามารถเก็บตัวอย่างดินเพื่อนำมาหาคุณสมบัติด้านความแข็งแรงหรือการทรุดตัวของดินได้เนื่องจากโครงสร้างดินถูกทำลายโดยสว่าน |
|
 |
อุปกรณ์สำหรับเจาะสำรวจดิน |
|
 |
สว่านมือสำหรับเจาะสำรวจดิน |
|
|
|
|
ข. การเจาะโดยใช้การฉีดล้าง (Wash Boring) คือการใช้แรงดันน้ำฉีดเจาะทำลายโครงสร้างดินเพื่อให้เกิดหลุม และเกิดการรบกวนดินด้านล่างน้อยที่สุด วิธีการเจาะเริ่มโดยการเจาะชั้นดินโดยการสูบน้ำผ่านก้านเจาะลงไปที่หัวฉีดที่ก้นหลุมพร้อมๆ กับกระแทกหรือหมุนของหัวเจาะ ทำให้ดินก้นหลุมหลุดไหลตามน้ำขึ้นมาบนผิวดินลงในอ่างตกตะกอนแล้วสูบน้ำที่ใสนำไปใช้ได้อีก ดังรูปด้านล่าง วิธีนี้ต้องอาศัยสามขา (Tripod) เครื่องกว้าน (Motor และCatch head) และปั๊มน้ำ ในกรณีที่เจาะในชั้นของดินอ่อน จะต้องใช้ปลอกกันดินพัง (Casing) ด้วย โดยต่อเป็นท่อน ๆ และเมื่อเจาะถึงชั้นทรายจะไหลเข้ามาในหลุมจึงจำเป็นต้องผสมสารเบนโทไนต์ (Bentonite) ลงไปกับน้ำ เนื่องจากเบนโทไนต์คือแร่ชนิด(Montmollionite) มีความสามารถในการดูดน้ำดีและพองตัวได้มาก ทำให้ความหนาแน่นของน้ำภายในหลุมมากกว่าน้ำในชั้นทราย น้ำจึงไม่ไหลเข้าในหลุม การเจาะประเภทนี้สามารถหยุดเพื่อเก็บตัวอย่างดินได้เป็นระยะ ๆ ตามกำหนด การเจาะสำรวจในกรุงเทพฯ เพื่อก่อสร้างอาคารจะเจาะสำรวจตั้งแต่ 30-80 เมตร ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับน้ำหนักของอาคาร |
|
    |
การเจาะดินแบบฉีดล้าง |
|
 |
การเจาะดินแบบฉีดล้าง |
|
|
|
2. วิธีเก็บตัวอย่างดิน (Soil Sampling) |
|
|
|
การเก็บตัวอย่างดินมักเป็นเรื่องละเอียดอ่อน และต้องการความระมัดระวังและความชำนาญที่จะให้ได้ตัวอย่างดินที่มีคุณภาพ ตัวอย่างดินมักแยกออกได้เป็น 2 ลักษณะ คือ |
|
|
|
|
ก. ตัวอย่างดินคงสภาพ (Undisturbed Sample) คือตัวอย่างดินที่ถูกเก็บขึ้นมาโดยมีสภาพใกล้เคียงสภาพธรรมชาติ ได้แก่ ตัวอย่างดินที่เก็บได้จากกระบอกเปลือกบางที่มีขนาดตั้งแต่ 3 นิ้วขึ้นไป, กระบอกแบบลูกสูบ (Piston Sampler) หรือกระบอกเก็บตัวอย่างแบบ 2 ชั้น เป็นต้น ซึ่งมีการกระทบกระเทือนชั้นดินน้อยที่สุด คือ มีความชื้น ความหนาแน่น ลักษณะโครงสร้างไม่มีการเปลี่ยนแปลง เช่นเดียวกับเมื่ออยู่ในชั้นดินเดิม ถือว่าเป็นตัวอย่างดินที่มีคุณภาพดีที่สุด และสามารถใช้ทดสอบคุณสมบัติต่าง ๆ ในห้องทดลองได้เกือบทุกอย่าง |
|
|
Undisturbed
Sampling |
|
|
|
|
ข. ตัวอย่างเปลี่ยนสภาพ (Disturbed Sample) ได้แก่ ตัวอย่างดินที่เก็บได้จากกระบอกผ่า (Split Spoon) ในการตอกทดลอง หรือกระบอกเปลือกบาง (Thin Wall หรือ Shelby Tube)ที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางขนาดเล็ก จะได้ตัวอย่างดินที่มีการเปลี่ยนสภาพไปบ้าง เช่นมีการอัดแน่น หรือ การจับตัวตามธรรมชาติถูกทำลายเพราะแรงกระแทกแต่อาจใช้ในการทดลองได้บางอย่างเช่น Atterberg’s limit,การหาขนาดเม็ดดิน |
|
Split-Spoon
Sampler |
|
|
|
3. วิธีการทดสอบคุณสมบัติดินในสนาม (Field test) |
|
|
|
ในระหว่างการเจาะสำรวจชั้นดินมักมีการทดสอบคุณสมบัติดินในสนามไปพร้อมๆ กัน เช่น การหากำลังความต้านทานของชั้นดิน, การหาค่าความซึมน้ำ เป็นต้น ข้อดีของการทดสอบในสนาม คือ ชั้นดินจะถูกรบกวนน้อยที่สุดเพราะยังคงอยู่ในที่ และยังมีสภาพแวดล้อมต่างตามจริง แต่ทดสอบโดยใช้เครื่องมืออย่างละเอียดเหมือนในห้องทดลองทำได้ยาก ดังนั้นผลการทดสอบที่ได้จึงเป็นค่าที่ถูกต้องในระดับหนึ่ง ผู้นำผลไปใช้จะต้องพิจารณาใช้ให้เหมาะสม การทดสอบในหลุมเจาะที่ทำกันเป็นส่วนมากได้แก่ |
|
|
|
|
ก. Standard Penetration test (SPT) หรือการตอกทดลองมาตรฐานเป็นการตรวจสอบความแข็งแรงของชั้นดินที่นิยมที่สุดในประเทศไทย การทดสอบดำเนินการร่วมไปกับการเก็บตัวอย่างโดยกระบอกผ่า หลักการทดสอบคือ เมื่อเจาะดินถึงระดับที่ต้องการทราบความแข็งแรง กระบอกผ่าจะถูกตอกลงไปในดินเป็นความลึก 18 นิ้ว โดยใช้ลูกตุ้มขนาดมาตรฐานหนัก 140 ปอนด์ ยกสูง 30 นิ้ว ระยะจม 18 นิ้ว ถูกแบ่งเป็น 3 ช่วง ช่วงละ 6 นิ้ว แต่ละช่วงจะทำการบันทึกจำนวนครั้งที่ใช้ในการตอกเพื่อให้กระบอกผ่าจมลงไป 6 นิ้ว ดังนั้นถ้าชั้นดินเป็นดินแข็งจะต้องให้พลังงานในการตอกมากหรือใช้จำนวนครั้งในการตอกมากนั่นเอง จำนวนการตอกใน 6 นิ้ว แรกจะไม่นำมาใช้เนื่องจากสภาพดินกันหลุมอาจถูกรบกวนจากการเจาะสำรวจมากทำให้ความแข็งแรงของดินเปลี่ยนไปจำนวนการตอกในช่วงที่เหลือจำนำมารมกันให้ได้ค่าจำนวนครั้งการตอกมาตรฐานหรือค่า N ดังกล่าวไปใช้ในการออกแบบต่อไป |
|
|
|
|
การทดสอบ SPT เหมาะสำหรับการทดสอบ ดินเหนียวแข็งถึงแข็งมากและทรายแน่น (Stiff Clay, Hard Clay และ Dense Sand) แต่ไม่เหมาะสำหรับดินเหนียวอ่อน ถึงแข็งปานกลางและทรายหลวม (Soft Clay, Medium Clay และ Loose Sand) ทั้งนี้เพราะดินอ่อนไม่สามารถต้านพลังงานจากการตอกได้ บางครั้งการตอกครั้งเดียว การบอกผ่าอาจจมลงไปมากกว่า 18 นิ้ว |
|
|
|
|
ข. Vane Shear Test โดยใช้ใบมีด 4 แฉกเสียบลงในชั้นดิน แล้วบิดด้วยโมเมนต์บิด (Torque) จากผิวดินผ่านก้านต่อลงไปเฉือนชั้นดิน เป็นรูปทรงกระบอกแล้วสามารถวัดแรงต้านทานของชั้นดินได้ |
|
 |
Vane
Shear Test |
|
|
|
|
ค. วัดการซึมน้ำ (Permeability Test) หรือความดันของน้ำใต้ดิน (Pore Water Pressure) โดยอาศัยการสูบน้ำออกแล้วดูอัตราการไหลของน้ำเข้ามาแทนที่ในหลุมเจาะ หรือฝังเครื่องวัดที่เรียกว่า “Piezometer” เพื่อวัดแรงดันน้ำที่ระดับที่ต้องการ |
|
|
|
4. วิธีหยั่งชั้นดิน (Sounding Method) |
|
|
|
มักเป็นการตอกหรือกดหัวโลหะผ่านก้านต่อ แล้ววัดแรงต้านทานของชั้นดิน เช่น การตอกทดลองมาตรฐาน (Standard Penetration Test),Dutch Cone Penetration,, Swedish Sounding เป็นต้น |
|
|
|
การทดสอบ Dutch Cone Penetration
|
|
|
|
|
5. วิธีทางธรณีฟิสิกส์ (Geophysical Method) |
|
|
|
|
อาศัยหลักทางฟิสิกส์ เช่น การวัดความต้านทานของชั้นดิน (Resistivity Survey) และวัดความเร็วของคลื่นผ่านชั้นดิน (Seimic Survey) ทั้งสองวิธี มักใช้ควบคู่กับการเจาะสำรวจ เพื่อเพิ่มข้อมูลเพิ่มเติมในระหว่างหลุมเจาะ |
|
|
|
|
การวัดความต้านทานของชั้นดิน |
|