หน้าหลัก
เบื้องหลักการถ่ายทำ
มาตราฐานอ้างอิง :
            ASTM D 420-69
 
            ASTM D 1452-65
 
            ASTM D 1586-67
 
            ASTM D 1587-67
 
            ASTM D 2488-69
 
            ASTM D 2573-67 T
 
            AASHO M 145
 
บทนำ
          ชั้นดินมีความหมายทางวิศวกรรมโยธา ได้ 2 ลักษณะ คือ
          1. ดินรากฐาน เพื่อรองรับน้ำหนักของสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ เช่น อาคาร ถนนหรือเขื่อน เป็นต้น ซึ่งดินฐานรากดังกล่าวต้องมีคุณสมบัติเหมาะสมตามวัตถุประสงค์ของสิ่งปลูกสร้าง เช่น มีความแข็งแรงเพียงที่จะรับน้ำหนักอาคารได้ หรือมีความทึบน้ำพอที่จะไม่ให้น้ำลอดผ่านดังในกรณีของเขื่อนสร้างขึ้นเหนือชั้นดิน ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยจึงจำเป็นต้องมีการเจาะสำรวจชั้นดินเพื่อดูคุณสมบัติทางวิศวกรรมของดินเพื่อใช้ในการประกอบการออกแบบสิ่งก่อสร้างต่อไป
          2. ดินเพื่อเป็นวัสดุก่อสร้าง เช่นการนำดินมาก่อสร้าง ถนน เขื่อน หรือ ถมที่ เป็นต้น โดยดินดังกล่าวต้องผ่านการบดอัดในมีคุณสมบัติทางวิศวกรรมที่ดี เช่น การนำดินมาบดอัดเพื่อทำถนน เพื่อให้ดินรับน้ำหนักการจราจรได้ หรือ การบดอัดดันดินเพื่อป้องกันน้ำท่วม ดังนั้นในการออกแบบเราจึงจำเป็นต้องทราบ ประเภทและคุณสมบัติทางวิศวกรรมของดิน
คลิกเพื่อขยายรูป

การใช้ดินเป็นวัสดุก่อสร้าง

การใช้ฐานรากเสาเข็มในชั้นดิน

   
   
         ชั้นดินเป็นสิ่งที่เกิด ขึ้นตามธรรมชาติจากขบวนการกัดกร่อนผุพังของหิน จนกระทั่งมาทับถมกันด้วยการพาของตัวกลางต่างๆ กัน เช่น กระแสน้ำ, ลม, ธารน้ำแข็ง เป็นต้น ดังนั้นลักษณะของชั้นดินจะแตกต่างกันออกไป จากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง บางครั้งแค่เพียงระยะห่างกันเพียงไม่กี่สิบเมตร แม้แต่ ณ. จุดเดียวกัน ชั้นดินที่ความลึกต่าง ๆ กัน ก็มีลักษณะต่างกันไป เนื่องจากเวลาการตกตะกอนหรือทับถมต่างกันไป และสภาพแวดล้อมอื่น ๆ ก็มีอิทธิพลด้วย
   

Alluvial Soil

Marine Soil

Alluvium Fan

Aeolian Soil

 
          การสำรวจชั้นดินจะต้องคำนึงถึงประโยชน์ใช้งานด้วย เช่น งานถนนหรือสนามบิน การสำรวจจะกระทำเพียงตื้นๆแต่งานฐานรากเสาเข็มต้องสำรวจลงไปลึกกว่าปลายเข็มที่คาดว่าจะใช้งานสำหรับในบทนี้จะพูดถึงการสำรวจโดยวิธีเบื้องต้น โดยใช้ สว่านมือ การเจาะล้าง (Wash Boring) และการเก็บตัวอย่างดินโดยใช้กระบอกเปลือกบาง (Thin Walled Tube)
การเก็บตัวอย่างดินโดยใช้สว่านมือ (Hand Auger)
การเจาะดินแบบฉีดล้าง และเก็บตัวอย่างดินโดยใช้กระบอกเปลือกบาง
เมนูหลักแบบทดสอบก่อนเรียนบทนำทฤษฎีวิธีการสำรวจการบันทึกข้อมูลแบบทดสอบหลังเรียน 
เชิดพันธุ์ อมรกุล และ ผศ.ดร.สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์
ศูนย์วิจัยและพัฒนาวิศวกรรมปฐพีและฐานราก  ภาควิชาวิศวกรรมโยธา   คณะวิศวกรรมศาสตร์   มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์