หน้าหลัก
เบื้องหลักการถ่ายทำ
 
          1. ตึกใบหยกถ้าไปก่อสร้างที่จังหวัดเชียงใหม่แทนที่จะอยู่ในกรุงเทพฯ ท่านคิดว่าฐานรากตึกจะแตกต่างกันหรือไม่ ความยาวเสาเข็มจะสั้นขึ้นหรือยาวมากกว่าเดิม
 
          2. ถ้าท่านต้องการทราบว่าชั้นดินด้านล่างมีความแข็งหรืออ่อนท่านจะทำอย่างไร ถ้าท่านมีฆ้อนปอดินและเหล็กเส้นยาว 3 เมตร
 
          3. จากข้อ 2 ท่านจะทราบได้อย่างไรว่าชั้นดินดังกล่าวรับน้ำหนักของสิ่งก่อสร้างได้โดยปลอดภัย
 
          4. ถ้าเราต้องการสร้างเขื่อนขนาดใหญ่ที่จังหวัดกาญจนบุรี และจำเป็นต้องใช้ดินปริมาณมาก ท่านจะเลือกขุดดินบริเวณใกล้สถานที่ก่อสร้างหรือนำดินมาจากจังหวัดอื่น
 
          5. ดินสำหรับการก่อสร้างถนน หรือเขื่อน สามารถกำหนดคุณสมบัติทางวิศวกรรมได้เหมือนกับคอนกรีตหรือเหล็กหรือไม่
 
          6. ถ้าท่านต้องการก่อสร้างอาคารสูง 5 ชั้นโดยไม่ทราบความลึกของชั้นดินที่แข็งแรง แต่ตึกข้างเคียงห่างออกไป 20 เมตร ก่อสร้างใช้มีข้อมูลของชั้นดินแข็งพอที่จะวางปลายเข็มได้ลึก 14 เมตร ท่านจะใช้ข้อมูลดังกล่าวมาออกแบบอาคารของท่านหรือไม่
 
 
เมนูหลักแบบทดสอบก่อนเรียนบทนำทฤษฎีวิธีการสำรวจการบันทึกข้อมูลแบบทดสอบหลังเรียน 
เชิดพันธุ์ อมรกุล และ ผศ.ดร.สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์
ศูนย์วิจัยและพัฒนาวิศวกรรมปฐพีและฐานราก  ภาควิชาวิศวกรรมโยธา   คณะวิศวกรรมศาสตร์   มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์