|
การเตรียมตัวอย่างดิน |
|
ก. ตัวอย่างดินเหนียว (Cohesive Soil) |
|
เครื่องมือที่ใช้ทดสอบ เรียกว่า Direct
Shear Machine ดังแสดงในรูปด้านล่าง |
|
|
1.
ตัวอย่างดินจะตัดโดย Trimmer ซึ่งเป็นวงแหวนกลมขอบหนึ่ง
บางคมใช้กดตัวอย่าง ขนาดตัวอย่างมาตรฐานที่นิยมใช้
คือ เส้นผ่าศูนย์กลาง 2.5 นิ้ว และความหนา 1.0 นิ้ว
ก่อนตัดตัวอย่างเราควรชั่งน้ำหนักเฉพาะ Trimmer
เสียก่อน เมื่อตัดตัวอย่างเรียบร้อย จึงชั่งน้ำหนักทั้งตัวอย่าง
และ Trimmer |
|
|
|
|
|
2.
วัดขนาดตัวอย่างโดยละเอียดโดยใช้เวอร์เนีย ซึ่งทำให้เราคำนวณหาความหนาแน่นของตัวอย่างดินได้ |
|
3.
ค่อย ๆ ดันตัวอย่างออกจาก Trimmer โดยใช้ Top cap
เป็นตัวช่วยให้ตัวอย่างบรรจุลงบน Shear box โดยมีการกระทบกระเทือนน้อยที่สุด
โดยขณะที่ Sliding ring จะถูกยึดใช้ติดกับ Stationary
base โดยมี Alignment pin เป็นตัวยึด |
|
|
|
4.
เมื่อตัวอย่างดินเข้าที่แล้วจัด loading bar ให้อยู่ในตำแหน่งที่พร้อมจะใส่
Normal load จัด Vertical dial gage, Horizontal
dial gage และ Horizontal Shearing Device ให้เข้าที่
(ถ้าตั้งให้ Dial gage ทุกตัวอยู่ที่ 0 จะสะดวกที่สุด) |
|
ข. ตัวอย่างดินทราย (Granular Soil) |
|
1.
จัด Shear box ให้พร้อม โดยส่วน Sliding ring ยึดติดกับ
Stationary base อาจจะยก Shear box ออกจาก Direct
Shear Machine มาเตรียมข้างนอกเพื่อความสะดวกก็ได้ |
|
2.
เตรียมทรายที่ต้องการทดสอบให้มากพอ ประมาณ 250 หรือ
300 gm. ชั่งให้ทราบน้ำหนักแน่นอน แล้วนำไปเตรียมลงใน
Shear box โดยใช้วิธีโรย แล้ว compact หรือ เขย่า
ให้ได้ความหนาแน่นตามต้องการ |
|
|
|
|
|
3.
วัดความสูงของตัวอย่างทราย และชั่งน้ำหนักทรายที่เหลือก็จะสามารถคำนวณหาความหนาแน่นได้
แล้วปฏิบัติเช่นเดียวกับข้อ 4 ของการเตรียมตัวอย่างดินเหนียว |
|
ค. การเฉือนตัวอย่าง
(Shearing) |
|
1.
กดตัวอย่างดินด้วยน้ำหนัก (Normal load) ที่ต้องการแล้วรอให้การทรุดตัวทางแนวดิ่งหยุด
ซึ่งจะกินเวลาประมาณ 2 – 10 นาที |
|
|
|
2.
เริ่มแรงเฉือนให้ตัวอย่าง โดยให้อัตราการเคลื่อนที่ตามแนวราบประมาณ
0.05 นิ้ว /นาที ถึง 0.10 นิ้ว / นาที โดยสม่ำเสมอ |
|
|
|
3.
อ่านค่าแรงเฉือนจาก Proving ring dial, ค่าการเคลื่อนตัวทางแนวดิ่ง
จาก Vertical dial gage ทุกๆ การเคลื่อนที่ตามแนวราบ
0.01 นิ้ว จนกระทั่งตัวอย่างดินไม่สามารถรับแรงเฉือนได้อีก
โดยค่าจาก Proving ring dial จะลดลง |
|
|
|
4.
เตรียมตัวอย่างเหมือนๆ กันอีก อย่างน้อย 3 ตัวอย่าง
โดยใช้น้ำหนัก (Normal load) แตกต่างกัน แล้วทำการทดลอง เหมือนข้อ
1 ถึงข้อ 4 |
|
|
|
|
|
|
ผู้ทดสอบ : |
นายศิริศักดิ์ จินดาพล, นายสุปรีชา ฟุ้งกีรติ
|
|
|
สถานที่ : |
ห้องปฏิบัติการปฐพีกลศาสตร์ |
|
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน และ |
|
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร |
|
|
ผู้บรรยาย : |
นางสาวธรรมธิดา รัตนประทีป |
|