หน้าหลัก
เบื้องหลักการถ่ายทำ
 
1. การทดสอบหาความหนาแน่นในสนาม การหาปริมาตรของหลุมในสนามที่ขุดดินออกมา สามารถทำได้สองวิธี ให้อธิบายหลักการของทั้งสองวิธี
 
2. ทรายที่นำมาใช้ในวิธีการหาปริมาตรของหลุมในข้อ 1 ต้องมีลักษณะอย่างไร เพราะเหตุใด
 
3. ถ้าต้องการหาความหนาแน่นของดินที่ระดับความลึก 2 เมตร จากผิวดิน นิสิตคิดว่าควรทำอย่างไร
 
4. จงเปรียบเทียบข้อดี ข้อเสีย ของวิธีการหาความหนาแน่นของดินในสนามโดยวิธี Sand Cone Method กับ Rubber Balloon Method
 
5. การทดสอบหาค่าความหนาแน่นในสนามโดยวิธี Rubber Balloon ไม่เหมาะกับดินประเภทใด
 
6. ข้อควรระวังเพื่อลดความผิดพลาดในการทดสอบความหนาแน่นของดินในสนามคืออะไร
 
7. การบดอัดดินในสนามแห่งหนึ่ง ใช้ Water Content 10% ถ้าทำการหาค่าความหนาแน่นของดินในสนามทันทีหลังการบดอัด ปรากฏว่าได้ค่าความหนาแน่นตาม 100% Modified Proctor หลังจากนั้น 3 วัน ปรากฏว่า Water Content ลดลงเหลือ 5% เนื่องจากความร้อนจากแสงอาทิตย์ การหาความหนาแน่นของดินในสนามจะให้ค่า 100% Modified Proctor หรือไม่ เพราะเหตุใด
 
8. จากข้อ 7 สมมติว่าหลังจากการบดอัด 3 วัน มีฝนตกลงมาแทน การหาค่าความหนาแน่นของดินในสนาม หลังจากฝนตกจะให้ค่า 100% Modified Proctor หรือไม่ เพราะเหตุใด
 
9. ในการทดลองการหาความหนาแน่นของดินในสนาม นิสิตกลุ่มหนึ่งหาค่า Density of Sand ได้ 60.7 Pcf (Pounds per cubic foot) ค่านี้สมเหตุผลหรือไม่ เพราะเหตุใด
 
10. จงอธิบายความหมายของการออกข้อกำหนดการบดอัดดินในสนาม ต้องได้ไม่น้อยกว่า 95% Modified Proctor ซึ่งถ้าท่านเป็นวิศวกรควบคุมงานท่านจะต้องทำอะไรบ้าง เพื่อตรวจสอบผู้รับจ้าง บอกเป็นขั้นตอน
 
11. ให้อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างการทดสอบ Compaction, CBR และ Field Density , อธิบายในลักษณะของแผนภูมิความสัมพันธ์
เมนูหลักแบบทดสอบก่อนเรียนบทนำทฤษฎีเครื่องมือและอุปกรณ์วิธีการทดลองการคำนวณผลการทดลองแบบทดสอบหลังเรียน 
เชิดพันธุ์ อมรกุล และ ผศ.ดร.สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์
ศูนย์วิจัยและพัฒนาวิศวกรรมปฐพีและฐานราก  ภาควิชาวิศวกรรมโยธา   คณะวิศวกรรมศาสตร์   มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์