|
ก.
Sand Cone Method วิธีนี้ใช้ทรายช่วยในการหาปริมาตรของหลุม
ทรายที่ใช้ คือ Ottawa sand ซึ่งมีเม็ดของทรายกลมและมีขนาดเท่า
ๆ กัน (Uniform) เพื่อที่จะให้ผลของความหนาแน่นเท่ากันโดยตลอด
และไม่เกิดการแยกตัวของเม็ดหยาบและเม็ดเล็ก (Segregation)
ขณะทำการทดลอง ถ้าหากไม่มี Ottawa sand อาจจะใช้ทรายซึ่งร่อนผ่านตะแกรง
No. 20 แต่ค้างบนตะแกรง No. 30 หรือทรายขนาดผ่านตะแกรง
No. 30 แต่ค้างบนตะแกรง No. 40 แทนได้ |
|
การ Calibrate หาน้ำหนักของทรายในกรวย |
|
1.
ตวงทรายใส่ขวดอย่างน้อยค่อนขวด ปิดวาล์วตรงก้นกรวย
นำไปชั่งและจดน้ำหนักไว้ |
 |
|
2.
วางแผ่น base plate ลงบนพื้นราบหรือโต๊ะปฏิบัติการซึ่งมีผิวเรียบ
คว่ำขวดให้กรวยวางบน base plate ในลักษณะเดียวกับที่จะออกไปทดลองในสนาม |
|
3.
เปิดวาล์ว ปล่อยให้ทรายในขวดไหลลงสู่กรวยอย่างอิสระ
และไม่ให้มีการสั่นหรือกระแทกในบริเวณใกล้
ๆ ขวด จนทรายหยุดไหลก็ปิดวาล์ว |
|
4. นำทรายในขวดที่เหลือไปชั่งหาน้ำหนัก
ผลต่างระหว่างการชั่งครั้งแรกและครั้งหลังจะเป็นน้ำหนักของทรายที่อยู่ในกรวย |
|
5.
ทำการทดลองอย่างน้อย 3 ครั้ง และหาค่าเฉลี่ยมาเพื่อใช้ในการทดลองในสนามต่อไป |
|
|
การ Calibrate Bulk Density ของทราย |
|
1.
ชั่งน้ำหนักขวดเปล่าพร้อมกรวย |
 |
|
2.
วางขวดเปล่าบนพื้นราบ เปิดวาล์วของกรวยแล้วเททรายลงในขวดทางกรวย
ปล่อยให้ทรายไหลลงขวดโดยสม่ำเสมอจนเต็มขวดแล้วปิดวาล์ว
ห้ามมิให้มีการสั่นสะเทือนขณะเติมทรายลงในขวด |
|
3.
เททรายที่เหลือค้างในกรวยออก นำไปชั่งเพื่อหาน้ำหนักของทรายในขวด
โดยเอาน้ำหนักของขวดเปล่าพร้อมกรวยมาหักออก
ต้องทดลองอย่างน้อย 3 ครั้ง แล้วคำนวณหาน้ำหนักของทรายในขวดโดยใช้ค่าเฉลี่ย |
|
|
 |
|
การ Calibrate หาปริมาตรของขวด |
|
1. วางขวดบนพื้นราบ
เปิดวาล์วก้นกรวย แล้วเติมน้ำลงขวดจนน้ำล้นท่วมขึ้นเหนือวาล์ว |
|
2. ปิดวาล์วแล้วเทน้ำส่วนที่อยู่เหนือวาล์วออก
เช็ดขวดภายนอกให้แห้ง นำไปชั่งหาน้ำหนัก ขวด + น้ำ
หัก น้ำหนักขวดเปล่าออก ก็จะได้น้ำหนักของน้ำในขวด |
|
3. ทดลองอย่างน้อย
3 ครั้ง แล้วหาน้ำหนักเต็มขวดด้วยค่าเฉลี่ย |
|
4. คำนวณหาปริมาตรของขวดดังนี้ |
V
= WT |
เมื่อ : |
V |
= |
ปริมาตรของขวด (ซม3.) |
|
W |
= |
น้ำหนักของน้ำเต็มขวด (กรัม) |
|
T |
= |
ปริมาตรของน้ำต่อน้ำหนักหนึ่งกรัมที่อุณหภูมิต่าง
ๆ ดังนี้ |
|
|
ตารางที่ 2 ปริมาตรของน้ำตามองศาที่เปลี่ยนไป |
 |
|
วิธีการทดสอบ |
|
1. ตวงทรายใส่ขวดอย่างน้อยค่อนขวด
ปิดวาล์ว ชั่งหาน้ำหนักของขวดทราย รวมทั้งกรวยและจดน้ำหนักไว้
(W1) |
|
2. ปรับพื้นที่
ที่จะทำการทดลองให้เรียบ วาง base plate ตอกตะปูยึดให้แน่น |
|
 |
|
3. ใช้สิ่วเจาะดินจากรูกลาง
base plate ลึกประมาณ 10 ซม.ควรแต่งให้ก้นหลุมมนคล้ายก้นกะทะ
แต่งหลุมให้เรียบ ดินที่ขุดออกจากหลุมต้องเก็บใส่กระป๋องให้หมด
มิให้ตกหล่น ชั่งจดน้ำหนักไว้แล้วนำเข้าเตาอบเพื่อหาเปอร์เซ็นต์ความชื้น |
|
   |
|
4. คว่ำขวดทรายลงบน
base plate เสร็จแล้วเปิดวาล์วให้ทรายไหลลงอย่างอิสระจนเต็มแล้วปิดวาล์ว
เอาขวดทรายไปชั่งน้ำหนักของทรายที่เหลือ (W2)
เก็บทรายสะอาดในหลุมให้กลับคืนใส่ในภาชนะ ที่เตรียมมาเพื่อไปทำความสะอาดและนำไปใช้ได้อีก |
|
   |
|
ข.
Rubber Balloon Method วิธีนี้ใช้น้ำช่วยในการหาปริมาตรของหลุมซึ่งสะดวกและรวดเร็วกว่าวิธีใช้
ทราย ในการทดลองอาศัยใช้ลมจากลูกยางบีบอัดลงไปตรงส่วนบนของผิวน้ำในหลอดแก้วของเครื่องมือ
ทำให้น้ำในหลอดแก้วถูกอัดดันลงไปในลูกโป่งยาง และไหลลงไปในหลุมทดลองที่ขุดไว้ใต้
base plate ลมที่อัดลงไปนี้มีส่วนช่วยให้น้ำในลูกโป่งยางอัดแนบสนิทกับหลุม
ทำให้ได้ค่าปริมาตรของหลุมที่ถูกต้องและแม่นยำยิ่งขึ้น |
|
วิธีการทดสอบ |
|
1. ประกอบ balloon
apparatus โดยใส่น้ำในหลอดแก้ว ซึ่งมีลูกโป่งยางประกอบใส่ตรงฐานของเครื่องมือ
ให้ระดับน้ำต่ำกว่าขีดศูนย์ของหลอดแก้วเล็กน้อย |
|
2. วาง base plate
ลงบนที่ราบและเรียบ เช่น บนโต๊ะปฏิบัติการ แล้ววาง
balloon apparatus ลงบน base plate ให้เหมือนกับลักษณะที่จะไปทดลองในสนาม
เปิดวาล์วใต้ลูกบีบยางและบีบลูกบีบยางอัดลมดัน (pressure)
ลงบนผิวน้ำในกระบอกแก้ว อ่านและจดระดับครั้งแรกไว้
เสร็จแล้วกลับลูกบีบยาง เอาด้านที่เกิดแรงดูด (suction)
ประกอบเข้ากับเครื่องมือ บีบให้เกิด suction ดึงเอาระดับน้ำและลูกโป่งยางกลับขึ้นมาเก็บในหลอดแก้วเท่าระดับเดิม
แล้วปิดวาล์วใต้ลูกบีบยางไว้ |
|
   |
|
3. นำเครื่องมือออกไปในสนาม
ปรับพื้นที่ ที่จะทำการทดลองให้เรียบวาง base plate
ลง และตอกตะปูยึดให้แน่น |
|
   |
|
4. ใช้สิ่วเจาะดินจากช่องกลาง
base plate ให้มีเส้นผ่าศูนย์กลางเท่ากับขนาดช่องกลาง
base plate และลึกประมาณ 10 ซม. ควรให้ก้นหลุมมน
แต่งหลุมให้เรียบ ดินที่ขุดออกจากหลุมต้องเก็บใส่กระป๋องให้หมด
มิให้ตกหล่น นำไปชั่งจดน้ำหนักไว้ นำเข้าเตาอบเพื่อหาเปอร์เซ็นต์ความชื้น |
|
 |
|
5. วาง balloon
apparatus ลงบน base plate ประกอบลูกบีบยางด้านที่อัดลม
(pressure) เข้ากับ balloon apparatus เปิดวาล์วใต้ลูกบีบยางอัดลม
(pressure) ลงบนผิวน้ำในหลอดแก้ว อ่านระดับน้ำขีดต่ำสุดไว้
ขณะที่อัดลม (pressure) จะต้องกด balloon apparatus
ให้แน่นติดกับ base plate จึงจะได้ค่าที่ถูกต้อง |
|
   |
|
6. กลับลูกบีบยางด้านที่ทำให้เกิดแรงดูด
(suction) ดึงเอาระดับน้ำกลับขึ้นมาอยู่ในระดับเดิม
แล้วปิดวาล์วใต้ลูกบีบยาง |
|
|
|
|
ผู้ทดสอบ : |
นายวรวัชร์ ตอวิวัฒน์ |
|
|
สถานที่ : |
บนถนนด้านหลัง อาคารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (อาคาร
7) |
|
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ
จังหวัดสกลนคร |
|
|
ผู้บรรยาย : |
นางสาวธรรมธิดา รัตนประทีป |
|