|
สำหรับตัวอย่างดินที่ไม่ต้องมีการแช่น้ำ
(Unsoaked CBR Test) |
|
 |
1.
ชั่งดินที่เตรียมไว้ประมาณ 12 ปอนด์ หรือ
6 กก. และนำดินตัวอย่างประมาณ 100 กรัม เพื่อนำไปหาเปอร์เซ็นต์ความชื้น
(initial water content) ที่มีอยู่ในดินตัวอย่าง
2.
เตรียม mold ไว้ 2 ชุด ชั่งหาน้ำหนัก mold
(เฉพาะ mold ไม่รวม base plate) |
|
|
 |
3.ประกอบ
mold เข้ากับ base plate และ spacer (ขนาด
Ø 6” x 2”) ใช้กระดาษกรอง Ø
6” ปูทับบน spacer เพื่อป้องกันไม่ให้ดินเกาะติดกับแผ่นเหล็ก |
|
|
    |
4.
กระทุ้งดินอัดแน่นใน mold ตามวิธี compaction
test ASTM D 1557 optimum moisture content
±2% |
|
|
 |
5.
หลังจากบดอัดจนครบจำนวนชั้นและจำนวนครั้งแล้วถอด
collar ออก ใช้ไม้บรรทัดเหล็ก (Straight
edge) ปาดดินส่วนที่สูงเกินขอบ mold
พร้อมกับซ่อมแต่ผิวบนของดินตัวอย่างให้เรียบเสมอกับปาก
mold |
|
|
|
 |
6.
ถอด base plate และ spacer disc ออก นำ mold
และดินไปชั่งหาน้ำหนักเพื่อจะนำไปหา wet density |
|
|
  |
  |
 7.
เอากระดาษกรองวางบน base plate เพื่อป้องกันไม่ให้ดินเกาะติดแผ่นเหล็กประกอบ
mold ที่มีดินอัดแน่นนี้เข้ากับ base plate
โดยให้ปาก mold ด้านที่มีดินเสมอปากว่างบน
base plate และส่วนที่มีช่องว่าง 2.5 นิ้วอยู่ด้านบน |
|
|
 |
8.
วางแผ่นเหล็ก surcharge อย่างน้อย 10 ปอนด์
ลงบนดินตัวอย่างใน mold |
|
|
 |
9.
จัดวาง mold พร้อมดินตัวอย่างเข้าเครื่องกดทดลองซึ่งมี
piston ขนาดพื้นที่หน้าตัด 3 ตร.นิ้ว ประกอบติดอยู่
จัดให้ผิวหน้าของดินใน mold แตะสัมผัสกับ
piston ดังกล่าว จัดเข็ม dial gauge ที่จะใช้วัด
penetration ให้อยู่ที่จุดศูนย์ |
|
|
 |
10.
จัดการ Load ในอัตรา 0.05 นิ้วต่อนาที พร้อมกับอ่านค่าน้ำหนักที่ตรงกับ
penetration 0, 0.025, 0.050, 0.750, 0.100,
0.150, 0.200, 0.250, 0.300, 0.400 และ 0.500
นิ้ว |
11.
เสร็จแล้วถอด mold ออกจากเครื่องกดทดลองเก็บตัวอย่างดินตรงกลางตามแนวตั้งประมาณ
100 กรัม (fined grained soil) หรือประมาณ
500 กรัม (coarse grained soil) นำไปหาเปอร์เซ็นต์ความชื้น
(water content) |
|
|
สำหรับตัวอย่างดินที่มีการแช่น้ำ
(Soaked sample) ทำข้อ 12 - 18 เพิ่มเติม |
|
|
 |
12.
วางแผ่นเหล็ก surcharge หนัก10 ปอนด์ ลงบนดินตัวอย่างใส่
swell plate สำหรับวัดอัตราการบวมของดิน ซึ่งมีด้านขันเกลียวขึ้นลงได้ติดอยู่กลาง
plate ก่อนวางแผ่นเหล็ก surcharge ลงบนดินตัวอย่างจะต้องเอากระดาษกรองวางคั่นใต้แผ่น
surcharge เสียก่อนเพื่อป้องกันไม่ให้ดินติดแน่นกับแผ่นเหล็กหลังจากแช่น้ำแล้ว |
|
|
13.
แช่ mold ที่เตรียมไว้ในข้อ 12 นี้ ในภาชนะที่เตรียมไว้
ให้น้ำท่วม surcharge ประมาณ 1 นิ้ว ใช้ dial gauge
อ่านได้ละเอียด 0.001 นิ้ว ยึดติดกับ tripod แล้ววางบนปาก
mold จัดให้ปลายของ dial gauge แตะสัมผัสกับก้าน
swelling plate เพื่อวัดหาค่าการบวมตัวของดินต่อไป |
|
   |
|
14.
แช่ดินตัวอย่างไว้ประมาณ 4 วัน จดค่าการบวมตัวจาก
dial gauge ทุกวันจนครบ 4 วัน (ถ้าหากค่าการบวมตัวคงที่อาจจะหยุดอ่านได้หลังจากแช่น้ำแล้ว
48 ชั่วโมง) |
|
|
|
15.
หลังจากแช่ครบ 4 วันแล้ว ยก mold ออกจากน้ำและวางตะแคง
mold เพื่อรินน้ำทิ้ง และปล่อยทิ้งไว้ 15 นาที เพื่อให้น้ำไหลออกจาก
mold จนหมด |
|
16.
นำ mold พร้อมดินไปชั่งหาน้ำหนัก |
|
17.
ทำการทดลองตามวิธีข้อ 9 – ข้อ 10 |
|
18.
เก็บดินตัวอย่างจาก soaked sample ไปหาเปอร์เซ็นต์ความชื้น |
|
   |
การกดตัวอย่าง CBR |
|
|
|
|
ผู้ทดสอบ : |
นายวิษณุพงศ์ พ่อลิละ |
|
|
สถานที่ : |
ห้องปฏิบัติการปฐพีกลศาสตร์ |
|
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ
จังหวัดสกลนคร |
|
|
ผู้บรรยาย : |
นางสาวธรรมธิดา รัตนประทีป |
|