หน้าหลัก
เบื้องหลักการถ่ายทำ
 
          1. ตัวอย่างดินที่ใช้ในการทดสอบ Atterberg’s Limit จะต้องเป็นดินไม่ผ่านการอบหรือให้ความร้อนเกิน 500c
 
          2. ดินที่จะนำมาใช้ทดสอบควรจะต้องผสมน้ำให้น้ำซึมเข้าถึงเนื้อดินอย่างทั่วถึง (Homogeneous) สำหรับดินเหนียวอ่อนกรุงเทพฯ อาจจะต้องทิ้งไว้โดยการผสมน้ำแล้วปิดภาชนะไว้เป็นเวลา 1 คืน
 
          3. ระยะยกของ Casagrande’s Cup ควรจะต้องได้ตามมาตรฐาน ดังนั้นควรทำการตรวจสอบก่อนการทดสอบทุกครั้ง
 
          4. พื้นยางหรือพื้นไม้ของ Cassagrande's cup ควรมีความแข็งตามมาตรฐาน ซึ่งสามารถทดสอบได้โดยใช้มาตรฐาน ASTM D4318
 
          5. การทดสอบ Liquid limit เพื่อให้ความถูกต้องสูงสุดควรทำการทดสอบจากสภาพดินที่เปียก (หลังจากทิ้งได้ 1 คืน) ไปยังสภาพดินที่แห้งขึ้น โดยการปล่อยให้ดินแห้งในอากาศหรือใช้มีดปาดดินคลุกเคล้าให้นำระเหย
 
          6. LL = ค่าความชื้นในดินเมื่อทำการเจาะด้วย Cassagrande จำนวน 25 ครั้ง แล้วดินไหลมาบรรจบกัน 1 ซม.
 
          7. PL = ค่าความชื้นในดินเมื่อแท่งดินขนาด 1/8 นิ้ว เริ่มมีการแตกเนื่องจากการสูญเสียน้ำ
 
          8. น้ำหนักดินที่ให้หา PL ไม่ควรมีค่าน้อยกว่า 10 กรัม เนื่องจากอาจเกิดความผิดพลาดจากการชั่งได้
 
          9. การแตกของแท่งดินที่ทดสอบหาค่า PL ควรจะเกิดจากการแตกเนื่องจากการสูญเสียน้ำด้วยการคลึง มิใช่การนำดินไปอบหรือแตกเพราะแรงกระทำที่มากเกินไป
 
          10. ปรอทเป็นสารอันตราย สามารถซึมผ่านผิวหนังหรือระเหยได้ หลีกเลี่ยงการสัมผัสหรือสูดดม
 
          11. การทดสอบหาค่า Liquid Limit สามารถกระทำโดยใช้เวลาสั้นลงได้ แต่ความถูกต้องน้อยกว่าวิธีมาตรฐาน โดยการทดสอบโดยการเคาะครั้งเดียวให้ได้ค่าจำนวนการเคาะระหว่าง 20 ถึง 30 ครั้ง และทำการคำนวณโดย
 
          เมื่อ Wn = ความชื้นของมวลดินที่เคาะ N ครั้ง (20 < N < 30)
 
ตารางค่า N และ แสดงไว้ข้างล่างนี้
 
          12. การทราบสถานะภาพของดินในขณะนั้นว่าอยู่ในสภาวะกึ่งของแข็ง, พลาสติก ฯลฯ โดยดูได้จากค่าความชื้นในธรรมชาติเปรียบเทียบกับขอบเขตของการเปลี่ยนสถานะสามารถใช้เป็นดัชนี (Index) ที่จะชี้ถึงคุณสมบัติเบื้องต้นของดิน เช่นดินที่มีปริมาณน้ำในดินใกล้เคียงกับค่า LL หรือมากกว่า แสดงว่าดินนั้นมีความแข็งแรงต่ำ มีความเป็นไปได้ถึงการทรุดตัวที่สูง
ตารางที่ 1 ค่า N และ
No. of blow, N
20
0.974
21
0.979
22
0.985
23
0.990
24
0.995
25
1.000
26
1.005
27
1.009
28
1.014
29
1.018
30
1.022
เมนูหลักแบบทดสอบก่อนเรียนบทนำทฤษฎีเครื่องมือและอุปกรณ์วิธีการทดลองการคำนวณข้อแนะนำผลการทดลองแบบทดสอบหลังเรียน 
เชิดพันธุ์ อมรกุล และ ผศ.ดร.สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์
ศูนย์วิจัยและพัฒนาวิศวกรรมปฐพีและฐานราก  ภาควิชาวิศวกรรมโยธา   คณะวิศวกรรมศาสตร์   มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์