หน้าหลัก
เบื้องหลักการถ่ายทำ
 
          จุดเปลี่ยนสถานภาพ หรือ ลิมิตของมวลดิน ถูกเสนอขึ้นเป็นครั้งแรกโดยนักวิทยาศาสตร์ชาวสวีเดน ชื่อ A.Atterberg โดยมีอยู่ด้วยกัน 5 ลิมิต คือ Cohesion limit, Sticky limit, Shrinkage limit, Plastic limit, และliquid limit แต่ภายหลังนำมาใช้ประโยชน์ทางด้านปฐพีกลศาสตร์เพียงสามลิมิตสุดท้ายเท่านั้น
 
          ถ้าเรานำดินเหนียวมาผสมน้ำจนมีความชื้นสูง ดินจะมีสภาพคล้ายของเหลว เช่น ที่จุด A ในรูปที่ 1 ซึ่งแสดงความสัมพันธ์ของปริมาตรของมวลดินอิ่มตัว และความชื้นในดินจากจุด A ถ้าเราทำให้ความชื้นค่อยๆ ลดลงไป ปริมาตรของมวลดินก็จะลดลงเป็นปฏิภาคกัน มวลดินจะเปลี่ยนสถานภาพไป จากของเหลวเป็นพลาสติก, กึ่งของแข็งตามลำดับ
 
          1. Liquid Limit (WL หรือ L.L.) คือ ความชื้นในมวลดินขณะที่มวลดินเริ่มเปลี่ยนสภาพจากของเหลว (Viscous Fluid) ไปเป็นสารหนืดตัวในสถานภาพพลาสติก (Plastic State) ที่จุด B
 

รูปที่ 1 สถานภาพต่าง ๆ ของมวลดินเหนียว

          2. Plastic Limit ( Wpหรือ P.L.) คือ ความชื้นในมวลดินขณะที่เปลี่ยนสถานภาพจากพลาสติกเป็นกึ่งของแข็ง (Semi - solid state) ที่จุด C
 
          3. Shrinkage Limit ( Wskหรือ S.L.) คือ ความชื้น ณ.ที่จุด D ซึ่งดินเปลี่ยนจากสภาพกึ่งของแข็งเป็นของแข็ง และจะไม่มีการหดตัวต่อไปอีกแล้ว แต่เมื่อความชื้นยิ่งลดลงไป ฟองอากาศจะเริ่มแทรกเข้าไปในมวลดิน และทำให้เกิดสภาวะไม่อิ่มตัวเกิดขึ้น จนกระทั่วไม่มีความชื้นอยู่เลย ณ. ที่จุด E
 
          ค่าความชื้นในสถานภาพพลาสติกของดิน เราเรียกว่า Plasticity Index (P.L. หรือ Ip) คือผลต่างของ L.L และ P.L มักเป็นตัวแสดงถึงความเหนียวของดินและยังแสดงความไวต่อการเปลี่ยนสถานภาพต่อความชื้นของมวลดินนั้น จึงเป็นค่าที่สำคัญใช้มากในการจำแนกมวลดิน
 
          การหาค่าความชื้นที่ลิมิตต่างๆ มีวิธีการเฉพาะซึ่งเป็นที่ยอมรับและใช้กันแพร่หลาย คือ
 
          - Liquid Limit คือ ความชื้นของมวลดินที่เมื่อเตรียมดินลงในถ้วยเคาะ (Liquid limit device) ในรูปที่ 2 โดยมีรอยบากมาตรฐาน แล้วเคาะได้ 25 ครั้ง รอยบากนั้นจะเคลื่อนมาบรรจบกัน ยาวประมาณ 1 ซ.ม. พอดีซึ่ง A.Cassagrande ได้ให้ความเห็นไว้ว่าเท่ากับความชื้น ณ. จุดที่กำลังของดินเท่ากับ 25 กรัม/ตร.ซ.ม. โดยเปรียบเทียบไว้ว่าการเคาะแต่ละครั้ง เท่ากับหน่วยแรงเฉือนที่กระทำต่อมวลดินมีค่าประมาณ 1 กรัม/ ตร.ซ.ม.
 

รูปที่ 2 เครื่องมือเคาะหาค่า Liquid Limit

รูปที่ 3 การเคลื่อนตัวของมวลดินบริเวณรอยบาก (ก่อนเคาะและหลังเคาะตามลำดับ)

          - Plastic limit คือ ความชื้นในมวลดิน ซึ่งเมื่อถูกปั้นคลึงเป็นเส้นยาวและมีขนาด 1 หุน (1/8 นิ้ว)แล้วจะมีรอยแตกปริโดยรอบผิวดินเกิดขึ้นพอดี ดังเช่นในรูปที่ 4 ซึ่งในการปฏิบัติจริงทำได้ยากพอสมควรต้องอาศัยความชำนาญ กว่าจะได้ผลการทดลองที่น่าเชื่อถือได้

 

รูปที่ 4 การทดสอบหาค่า Plastic limit

          สำหรับ Shrinkage limit ดังที่เคยกล่าวเอาไว้ข้างต้นแล้วว่า เป็นความชื้น ณ. จุดที่มวลดินจะไม่เปลี่ยนแปลงปริมาตรอีกแล้ว อาจหาได้จากรูปที่ 5
 

รูปที่ 5 การหดตัวของมวลดิน

 
เมื่อ : Wi  = ความชื้นเมื่อเริ่มการทดลองที่ A
  Vi  = ปริมาตรดินเมื่อเริ่มการทดลองที่ A
   Vf = ปริมาตรดินเมื่อแห้งที่ E หรือ D
  Ws = น้ำหนักแห้งของมวลดิน
เมนูหลักแบบทดสอบก่อนเรียนบทนำทฤษฎีเครื่องมือและอุปกรณ์วิธีการทดลองการคำนวณข้อแนะนำผลการทดลองแบบทดสอบหลังเรียน 
เชิดพันธุ์ อมรกุล และ ผศ.ดร.สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์
ศูนย์วิจัยและพัฒนาวิศวกรรมปฐพีและฐานราก  ภาควิชาวิศวกรรมโยธา   คณะวิศวกรรมศาสตร์   มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์