หน้าหลัก
เบื้องหลักการถ่ายทำ
 
1. เหตุใดการทดสอบ Triaxial จึงถือว่า เป็นการทดสอบที่เหมือนสภาพในธรรมชาติที่สุด
 
2. ในการทดลองเพื่อหาค่า C และ ของตัวอย่างดิน โดยทดสอบแบบ triaxial test จำเป็นต้องใช้เครื่องมืออะไรบ้าง จงบอกชื่อเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ ในการทดสอบโดยเริ่มตั้งแต่การเตรียมตัวอย่าง ซึ่งตัวอย่างดินถูกเก็บไว้ในกระบอกบาง 3”
 
3. การทดสอบ Triaxial ประกอบด้วยขั้นตอน 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนใดบ้าง อธิบายถึงวัตถุประสงค์ในแต่ละขั้นตอน
 
4. เราจะทราบได้อย่างไรว่าตัวอย่างดินที่ใช้ทดสอบ Triaxial อิ่มตัวแล้ว
 
5. Cell Pressure มีค่าน้อยกว่า Back Pressure ได้หรือไม่เพราะเหตุใด
 
6. การทดสอบ CU ต่างจากการทดสอบ CD อย่างไร
 
7. การทดสอบ UU ได้ค่า = 0 หมายความว่าดินไม่มี Friction ใช่หรือไม่
 
8. เหตุใดการทดสอบ UU จึงได้ค่า = 0 หรืออีกนัยหนึ่งคือเมื่อเพิ่ม Confining Pressure แล้ว กำลังของดินยังเท่าเดิมอธิบายเหตุผล
 
9. การทดสอบ Triaxial ของดินเหนียวตัวอย่าง Undisturbed ชนิดเดียวกันแบบ UU และ CU โดยใช้ Confining Pressure เท่ากัน จะให้ผลแตกต่างกันอย่างไร อธิบายเหตุผลและให้เขียน Stress - Strain Curve และ Mohr Diagram เปรียบเทียบ
 
10. การทดสอบ Triaxial แบบ UU ของดินตัวอย่างคงสภาพ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 3.5 ซม. สูง 7 ซม.จำนวน 2 แท่งตัวอย่าง โดยใช้หน่วยแรงอัดรอบข้างเท่ากับ 1.5 กก./ซม2 และ 3 กก./ซม2 อ่านค่าแรงอัดสูงสุด จาก Proving ring ได้เท่ากับ 169 และ 144 ขีด ตามลำดับ เมื่อดินทั้ง 2 ตัวอย่างยุบลงไป 0.25 ซม.(ค่าคงที่ของ Proving ring เท่ากับ 0.114 กก./ขีด)
          a. ค่า Minor principal stress ของดินตัวอย่างแท่งที่ 1 เท่ากับเท่าใด
          b. ค่า Major principal stress ของดินตัวอย่างแท่งที่ 2 เท่ากับเท่าใด
          c. ค่า Cohesion ของดินนี้เท่ากับเท่าใด
          d. ค่า Angle of internal friction ของดินนี้เท่ากับเท่าใด
 
11. ข้อมูลการทดสอบ UU Triaxial ของดินเหนียวตัวอย่างขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 35 มม. สูง 70 มม. มีดังนี้
 

การทดสอบครั้งที่

หน่วยแรงอัดรอบข้าง (ตัน/ม2)
(Confine pressure)

หน่วยแรงตามแนวแกนอัดสูงสุด (ตัน/ม2)
(Deviator stress)

1
10
15
2
20
19
3
40
37
 
         ให้เขียน Total stress path และหาค่า Cohesion และ Angle of internal friction
เมนูหลักแบบทดสอบก่อนเรียนบทนำทฤษฎีเครื่องมือและอุปกรณ์การเตรียมตัวอย่างดินวิธีการทดลองการคำนวณผลการทดลองแบบทดสอบหลังเรียน 
เชิดพันธุ์ อมรกุล และ ผศ.ดร.สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์
ศูนย์วิจัยและพัฒนาวิศวกรรมปฐพีและฐานราก  ภาควิชาวิศวกรรมโยธา   คณะวิศวกรรมศาสตร์   มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์