|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
มาตราฐานอ้างอิง : |
|
|
ASTM D 2487 – 69 |
|
|
ดินเป็นวัสดุที่ประกอบขึ้นด้วยสิ่งต่างๆ
หลายอย่าง เช่น กรวด, ทราย, ดินเหนียว, อินทรียสาร
เป็นต้น ทั้งนี้ เนื่องจากอิทธิพลของหินต้นกำเนิด,
การกัดกร่อนผุพัง, การพัดพาและการตกตะกอนทับถม เพื่อที่จะจัดหมวดหมู่ของดินที่มีคุณสมบัติเฉพาะคล้ายกัน
เข้าอยู่ในพวกเดียวกันตามวัตถุประสงค์ในการใช้งาน
การจำแนกประเภทของดินจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง |
|
|
|
เนื่องจากมีผู้เกี่ยวข้องกับดินอยู่หลายสาขาด้วยกัน
การจำแนกประเภทดินจึงแตกต่างกันออกไป แล้วแต่วัตถุประสงค์ในการใช้งานในแต่ละสาขา
เช่น ทางด้านเกษตรศาสตร์จะจำแนกดินตามความอุดมสมบูรณ์ของธาตุสารที่พืชจะนำไปใช้ประโยชน์
ทางด้านธรณีวิทยา อาศัยลักษณะหินต้นกำเนิดและการกัดกร่อนผุพัง
เป็นปัจจัยในการจำแนก สำหรับทางวิศวกรรมโยธาพิจารณาคุณสมบัติทางฟิสิกส์และกลศาสตร์ของดินเป็นหลัก
เช่น ขนาดของเม็ดดิน, แรงยึดเกาะของมวลดิน เป็นต้น
ทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องกับประโยชน์ใช้สอยทางวิศวกรรมแต่ละหมวดหมู่ของดินที่จัดเข้าไว้
จะมีอักษรย่อเฉพาะซึ่งจะเป็นที่เข้าใจได้โดยงายในหมู่วิศวกร
หรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง |
|
ในวงการวิศวกรรมโยธา
การจำแนกดินมีหลายระบบ ขึ้นอยู่กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและประโยชน์ใช้สอย
เช่น งานด้านถนนใช้ระบบ AASHO Classification ซึ่งจัดแบ่งดินตามความเหมาะสมในการใช้เป็นวัสดุก่อสร้างถนน,
งานสนามบินใช้ระบบของ FAA Classification และระบบ
Unified Soil Classification ซึ่งใช้กับงานวิศวกรรมทั่วๆ
ไปและนิยมแพร่หลายกว่าระบบอื่นๆ |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|