HomeAbout usNewsPaperPresentationLibraryGraduate School at KU
 
 
 
คลิกเพื่อขยายรูป ข้อมูลสภาพดินบริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง
 
วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์, ว.ส.ท.
 
 
บริษัท จุดทอง จำกัด, กรุงเทพฯ
227 หน้า ราคา 300 บาท

ติดต่อซื้อได้ที่ ว.ส.ท. : ร้านหนังสือออนไลน์

คำนำ

         วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (ว.ส.ท.) เป็นสมาคมวิชาชีพทางวิศวกรรมที่มีรากฐานและเติบโตขึ้นจากความร่วมมือ ร่วมใจ ของสมาชิกทั้งหลายมีนโยบายส่งเสริมการพัฒนาวิชาการทางวิศวกรรม สวัสดิการและทำเอกสารและสิ่งตีพิมพ์การจัดประชุมสัมมนาทางวิชาการ การจัดทำมาตรฐานการปฏิบัติงานทางวิศวกรรม การให้คำปรึกษาและเข้าร่วมโครงการวิศวกรรมของหน่วยงานราชการและรัฐวิสาหกิจ การสนับสนุนการศึกษาด้านวิศวกรรมศาสตร์ เป็นต้น
         นโยบายทางวิชาการที่สำคัญของ ว.ส.ท. ประการหนึ่งคือ ส่งเสริมการจัดทำตำราภาษาไทยในด้านวิศวกรรมปฏิบัติ และส่งเสริมให้มีการจัดทำคู่มือและมาตรฐานความปลอดภัยต่าง ๆ
         หนังสือกึ่งวิชาการเล่มนี้ เป็นผลงานชิ้นหนึ่งของวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ในความพยายามที่จะจัดทำข้อมูลพื้นฐานทางวิศวกรรมที่สำคัญของประเทศไว้ เพื่อเป็นสาธารณะประโยชน์ และเพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดพัฒนาการทางวิชาการด้านวิศวกรรมของประเทศต่อไปในระยะยาว ความสำเร็จของผลงานี้ เกิดขึ้นได้ด้วยความร่วมมือของคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในด้านการจัดทำโดยใช้ข้อมูลพื้นฐานจากเอกสารข้อมูล ว.ส.ท. 1001-20 ชื่อ “ข้อมูลสภาพดินบริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง” ซึ่งจัดพิมพ์เมื่อกุมภาพันธ์ 2520 และวิทยานิพนธ์เรื่อง “สภาพธรณีเทคนิคของลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง” จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
         วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยขอขอบคุณคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะผู้จัดทำ และหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ตลอดจน คณะกรรมการสาขาวิศวกรรมโยธา ที่ได้ให้ความร่วมมือและร่วมกันจัดทำหนังสือเล่มนี้ขึ้นจนเป็นผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่ได้วางไว้ทุกประการ
รศ.ต่อตระกูล ยมนาค
นายก ว.ส.ท.
(ประจำปี 2545-2546)
 

สารบัญ

บทที่ 1 บทนำ

บทที่ 2 คุณสมบัติทั่วๆไปและการเก็บตัวอย่างดินคงสภาพ
2.1 ดิน
2.2 คุณสมบัติทั่วๆไปของดิน
2.3 การจำแนกประเภทดิน
2.4 การเก็บตัวอย่างดินคงสภาพ
2.5 การทดสอบกำลังดินในสนาม

บทที่ 3 ธรณีวิทยาดินตะกอนลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง
3.1 บทนำ
3.2 ตำแหน่งที่ตั้งและภูมิประเทศ
3.3 สภาพภูมิอากาศ
3.4 สภาพธรณีวิทยาทั่วไป
3.5 โครงสร้างของแอ่งหิน
3.6 ธรณีวิทยาช่วง Quaternary Period
3.7 ธรณีวิทยาช่วง Late Quaternary Period

บทที่ 4 ภาพรวม : ชั้นดินเหนียวอ่อนกรุงเทพฯ
4.1 ชั้นดินเหนียวอ่อนกรุงเทพฯ
4.2 ลำดับการเกิดดินเหนียวอ่อนกรุงเทพฯ
4.3 ลักษณะชั้นดินและคุณสมบัติทางวิศวกรรม
     - แนวทางสายธนบุรี-ปากท่อ
     - แนวทางสายบางนา-บางปะกง
     - แนวทางรถไฟสายตลิ่งชัน-นครปฐม
     - แนวทางสายกรุงเทพฯ-ชลบุรี(สายใหม่)
     - แนวทางสายกรุงเทพฯ-นครสวรรค์

บทที่ 5 ข้อมูลสภาพดินบริเวณเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร
คุณสมบัติโดยรวมของดินเขตกทม.
แนวตะวันออก-ตะวันตก (ของกทม.)
แนวเหนือ-ใต้ (ของกทม.)
แนวคลองประปา
แนวถนนพหลโยธิน
แนวถนนสุขุมวิท
แนวถนนพระรามที่ 4
แนวถนนวงแหวน
แนวทางด่วน ท่าเรือ-ดินแดง
แนวทางด่วน ท่าเรือ-ดาวคะนอง
แนวโครงการรถไฟลอยฟ้าโฮปเวลล์
แนววงรอบพื้นที่บางกระเจ้า
ข้อมูลชั้นดินเฉพาะตำแหน่ง

บทที่ 6 ข้อมูลสภาพดิน 13 จังหวัดรอบนอกกรุงเทพฯ
จังหวัดฉะเชิงเทรา
จังหวัดชลบุรี
จังหวัดนครปฐม
จังหวัดนนทบุรี
จังหวัดปทุมธานี
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
จังหวัดสุพรรณบุรี
จังหวัดสมุทรปราการ
จังหวัดสมุทรสาคร
จังหวัดสมุทรสงคราม
จังหวัดชัยนาท
จังหวัดสิงห์บุรี
จังหวัดอ่างทอง