|
|
|
|
|
|
วิศวกรรมความปลอดภัยเขื่อน เพื่อการออกแบบและบำรุงรักษา |
|
by :
รศ.ดร.สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์
ภาควิชาวิศวกรรมโยธา
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ |
ISBN 978-616-556-087-0 |
พิมพ์ครั้งที่ 1
ปีที่พิมพ์ 2555
382 หน้า ราคา 300 บาท
ติดต่อซื้อได้ที่ : ศูนย์หนังสือ มก.
ขอยืมได้ที่ศูนย์วิจัยฯ |
|
|
|
|
|
|
เนื้อหาโดยย่อ |
|
|
|
|
|
การสำรวจ ออกแบบ ก่อสร้าง และใช้งานเขื่อนได้เต็มประสิทธิภาพและปลอดภัย จำเป็นต้องอาศัยหลักการทางวิชาการหลายแขนงซึ่งแต่ละแขนงมีส่วนเกี่ยวข้องกับความปลอดภัยของเขื่อนในมุมและเวลาต่างๆ กัน ในตำราเล่มนี้ผู้เขียนได้เน้นวิชาการด้านวิศวกรรมธรณีเทคนิค หรือวิศวกรรมปฐพี อันเป็นแกนสำคัญของความปลอดภัยของตัวเขื่อนและฐานราก โดยมุ่งหวังให้ผู้อ่านได้ใช้ในการกำหนดแนวนโยบายรวมถึงนำไปใช้ในการปฏิบัติได้ ทั้งนี้เพื่อให้เขื่อนที่กำลังจะสร้างใหม่มีความปลอดภัยและเขื่อนที่ก่อสร้างไปแล้วสามารถใช้งานได้เต็มประสิทธิภาพภายใต้ความปลอดภัยที่ควบคุมได้
|
|
|
|
|
|
หนังสือเล่มนี้ประกอบด้วยเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับองค์ความรู้ด้านวิศวกรรมความปลอดภัยเขื่อนที่จำเป็นต้องใช้ในการออกแบบและบำรุงรักษาเขื่อน เนื้อหาประกอบด้วยโครงสร้างและองค์ประกอบเขื่อน พฤติกรรมและสาเหตุการพิบัติของเขื่อน กรณีศึกษาการพิบัติที่สำคัญของเขื่อนประเภทต่างๆ ทฤษฎีการออกแบบที่สัมพันธ์กับความปลอดภัยเขื่อน วิธีการจัดลำดับการบำรุงรักษาเขื่อน หลักการดำเนินงานด้านความปลอดภัยเขื่อน การตรวจสอบและประเมินความปลอดภัยเขื่อน การตรวจสอบด้วยสายตาและหลักการประเมินความปลอดภัยจากเครื่องมือวัดพฤติกรรม แผนปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยเขื่อนในสภาวะปกติและสภาวะไม่ปกติ โดยเนื้อหาที่บรรจุอยู่ในหนังสือดังที่กล่าวมา เหมาะสำหรับใช้ในการเรียนการสอนด้านวิศวกรรมเขื่อน และเหมาะสำหรับวิศวกรผู้เกี่ยวข้องกับการออกแบบและบำรุงรักษาเขื่อน เพื่อให้เขื่อนมีความปลอดภัย
|
|
|
|
|
|
สารบัญ
|
|
|
|
|
|
บทที่ 1 บทนำ
1.1 ชนิดของเขื่อน
1.2 องค์ประกอบตัวเขื่อน
1.3 โครงสร้างประกอบเขื่อน
1.4 เกณฑ์การจัดขนาดเขื่อน
1.5 อายุการใช้งานเขื่อน
1.6 สภาวะวิกฤต
บทที่ 2 สถิติการพิบัติของเขื่อน
2.1 สถิติการพิบัติ
2.2 สถิติสาเหตุการพิบัติ
2.3 สถิติการพิบัติในประเทศไทย
บทที่ 3 พฤติกรรมและสาเหตุการพิบัติของเขื่อน
3.1 การกัดเซาะภายใน (Piping) ผ่านฐานรากและตัวเขื่อน
3.2 การพิบัติจากน้ำล้นสันเขื่อน
3.3 การเคลื่อนพังของลาดเขื่อนและฐานราก
3.4 แผนภูมิสาเหตุการพิบัติ (Fault Free)
บทที่ 4 กรณีศึกษาการพิบัติของเขื่อน
4.1 กรณีการพิบัติของเขื่อน Teton
4.2 กรณีความเสียหายของเขื่อนมูลบน
4.3 กรณีการพิบัติของเขื่อน Saint Francis
4.4 การพิบัติของเขื่อนหินถมดาดหน้าคอนกรีต (CFRD)
4.5 กรณีการพิบัติของอ่างเก็บน้ำ Taum Sauk
บทที่ 5 การจัดลำดับเขื่อนเพื่อการบำรุงรักษา
5.1 ฐานข้อมูลเขื่อนในประเทศไทย
5.2 ความเสี่ยงของเขื่อน (Dam Risk)
5.3 ข้อมูลปัจจัยโอกาสเกิดการพิบัติ (Probability of Failure)
5.4 ข้อมูลปัจจัยความสูญเสีย (Quantity or Number of Loss)
5.5 หลักการจัดลำดับโดยอาศัยหลักการความเสี่ยง
5.6 ลำดับความเสี่ยงเขื่อนในประเทศไทย
บทที่ 6 การดำเนินงานด้านความปลอดภัยเขื่อน
6.1 หลักประกันด้านความปลอดภัยเขื่อน
6.2 องค์ประกอบของความปลอดภัยเขื่อน
6.3 การตรวจสอบและประเมินความปลอดภัยตัวเขื่อนและอาคารประกอบ
6.4 การวิเคราะห์และประเมินความเสี่ยงของเขื่อน
บทที่ 7 แผนปฏิบัติความปลอดภัยเขื่อน
7.1 การเฝ้าระวังเกี่ยวกับตัวเขื่อน
7.2 แผนการอ่านค่าเครื่องมือวัดพฤติกรรมเขื่อน
7.3 เกณฑ์การเฝ้าระวังจากการไหลซึมสำหรับเขื่อนดินถม
7.4 แผนการตรวจสอบสภาพเขื่อนช่วงการใช้งาน
7.5 แผนปฏิบัติความปลอดภัยเขื่อนในสภาวะไม่ปกติ
บทที่ 8 ทัศนคติและความเข้าใจที่ถูกต้องด้านความปลอดภัยเขื่อน
|
|