หน้าหลัก
เบื้องหลักการถ่ายทำ
 
1. ประโยชน์ของ CBR คืออะไร
 
2. การทดสอบ California Bearing Ratio, CBR เป็นการทดสอบวัดแรงชนิดใดของดินบดอัด เหตุใดการทดสอบ CBR จึงเหมาะสมสำหรับวัดแรงชนิดนั้น
 
3. ในการทดสอบหาค่า CBR เหตุใดจึงต้องทำการทดลองกับดินในสภาวะ Soaked และ Unsoaked
 
4. ข้อแตกต่างที่ชัดเจนของค่า Soaked CBR และ Unsoaked CBR ของดินชนิดเดียวกันคืออะไร
 
5. ในการทดสอบ CBR แบบ Soaked และ Unsoaked Sample ของดินชนิดเดียวกัน ได้กราฟในรูปข้างล่าง จงระบุว่ากราฟเส้นใดเป็นของ Soaked หรือ Unsoaked Sample เพราะเหตุใด
 
 
6. จากข้อ 5 จงหาค่า CBR ของ Soaked และ Unsoaked Sample
 
7. ในการก่อสร้างถนนแห่งหนึ่งดินที่นำมาสร้างถนนผ่านการบดอัดในสนามจนได้ความหนาแน่นเปียกและแห้ง เหมือนกับในห้อง Lab ทุกประการ (100% Modified Proctor) ถ้านิสิตสามารถนำ Piston ที่ใช้กดตัวอย่างดิน ในการหาค่า CBR ในห้อง Lab มาทำการทดสอบหาค่า CBR ของดินในสนาม (ดังในรูปด้านล่าง) ค่า Unsoaked CBR ที่ได้จากการทดสอบในสนามจะมีค่ามากกว่าหรือน้อยกว่าหรือเท่ากับ Unsoaked CBR ที่ได้จากห้อง Lab เพราะเหตุใด
 
 
8. ชั้น Base ของถนน ควรมีค่า CBR เท่าใด
 
9. ชั้น Base ของถนนคอนกรีต (Rigid Pavement) ควรมี CBR สูงหรือต่ำกว่า ชั้น Base ของถนนลาดยาง (Flexible Pavement) เพราะเหตุใด
 
10. ในการทดลองเรื่อง CBR ค่า Load มาตรฐานที่ระยะจม 0.1 นิ้ว คืออะไร และที่ระยะจม 0.2 นิ้ว คืออะไร
 
11. จากการทดลองหาค่า CBR ของดินชนิดหนึ่ง ถ้า load ที่ระยะจม 0.1 นิ้ว และ 0.2 นิ้ว มีค่าเป็น 200 และ 330 psi ตามลำดับ ดินชนิดนี้มีค่า CBR เท่ากับเท่าใด
 
12. จงเปรียบเทียบค่า CBR ของ 1.ดินเหนียว 2.ทราย 3.ดินลูกรัง และ 4.หินคลุก ตามตัวอย่างที่ท่านได้ทำการทดลอง โดยเรียงลำดับจากค่า CBR มากไปหาน้อย
13. เมื่อใดควรจะมีการปรับแก้ CBR Curve และการปรับแก้นั้นทำอย่างไร
เมนูหลักแบบทดสอบก่อนเรียนบทนำทฤษฎีเครื่องมือและอุปกรณ์การเตรียมตัวอย่างดินวิธีการทดลองการคำนวณผลการทดลองแบบทดสอบหลังเรียน 
เชิดพันธุ์ อมรกุล และ ผศ.ดร.สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์
ศูนย์วิจัยและพัฒนาวิศวกรรมปฐพีและฐานราก  ภาควิชาวิศวกรรมโยธา   คณะวิศวกรรมศาสตร์   มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์