HomeAbout usNewsPaperPresentationLibraryGraduate School at KU
 
 
 
 
เอกสารเผยแพร่ทางวิชาการ : ด้านวิศวกรรมเขื่อน
เลขที่บทความ วศข.52/01
ชื่อบทความ โอกาสในการพิบัติของเขื่อนศรีนครินทร์
ผู้แต่ง 1. ผศ.ดร.สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์
2. นายมนตรี จินากุลวิพัฒน์
คำนำ เพื่อให้ทราบอย่างแน่ชัดว่าโอกาสในการพิบัติของเขื่อนศรีนครินทร์อยู่ในระดับใด การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยจึงได้ให้ศูนย์วิจัยและพัฒนาวิศวกรรมปฐพีและฐานราก มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ดำเนินการวิเคราะห์ความปลอดภัยของเขื่อนศรีนครินทร์ทั้งในสภาวะปกติและสภาวะเกิดแผ่นดินไหว ผลการศึกษาพบว่าโอกาสในการพิบัติของเขื่อนในรูปแบบการไถลตัวของลาดชันเมื่อเก็บน้ำอยู่ในระดับเก็บกักปกติ มีค่าเท่ากับ 4.05x10-6 หรือ 1 ใน 250,000 โดยประมาณ สำหรับในกรณีเมื่อเกิดแผ่นดินไหวหากระดับน้ำอยู่ที่ระดับเก็บกักปกติ โอกาสที่เขื่อนจะยุบตัวเนื่องจากแรงกระทำแผ่นดินไหวและทำให้ระดับสันเขื่อนต่ำกว่าระดับน้ำกักเก็บอันอาจนำมาสู่การพิบัติของเขื่อนโอกาสการพิบัติในกรณีดังกล่าวมีค่าเท่ากับ5.83x10-9 หรือ 1 ใน 167 ล้านโดยประมาณ ซึ่งผลการวิเคราะห์ดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งจากรายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการวิเคราะห์ความมั่นคงของเขื่อน SNR ต่อแรงกระทำแผ่นดินไหว ...
   
   
เลขที่บทความ วศข.51/01
ชื่อบทความ พฤติกรรมเขื่อนหินถมคอนกรีตดาดหน้า : สภาวะปกติและแผ่นดินไหว
ผู้แต่ง 1. ผศ.ดร.สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์
2. นายชิโนรส ทองธรรมชาติ
3. นายมนตรี จินากุลวิพัฒน์
4. นายวรุฒ พจน์ศิลปชัย
คำนำ เขื่อนหินถมคอนกรีตดาดหน้าเป็นเขื่อนที่นำข้อดีของหินถมบดอัดมาใช้ คือ สามารถที่จะก่อสร้างได้ชัน ใช้ปริมาตรน้อย แต่มีความโปร่งน้ำจึงลดข้อเสียโดยการใช้แผ่นคอนกรีตมาดาดหน้าเป็นแผ่น ทึบน้ำ ในประเทศไทยเขื่อนหินถมคอนกรีตดาดหน้าแห่งแรก คือเขื่อนวชิราลงกรณ ซึ่งก่อสร้าง เสร็จในปีพ.ศ. 2527 ที่ก่อสร้างโดยกรมชลประทานในขณะนั้น และต่อมาได้อยู่ภายใต้การดูแลของการ ไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ในทั่วโลกเขื่อนหินถมคอนกรีตดาดหน้ามีเทคนิคการก่อสร้างและการศึกษา พฤติกรรมของเขื่อนหินถมคอนกรีตดาดหน้าได้พัฒนาอย่างต่อเนื่อง ในบทความนี้จะนำเสนอเนื้อหา พฤติกรรมของเขื่อนประเภทนี้เพื่อใช้ประโยชน์ภายหลังการก่อสร้างและบำรุงรักษาเขื่อน ทั้งในสภาวะปกติ และแผ่นดินไหว...