หน้าหลัก
เบื้องหลักการถ่ายทำ
คลิกเพื่อขยายรูป ปฐพีกลศาสตร์
Soil MECHANICS
 
สถาพร คูวิจิตรจารุ
 
 
ไลบรารี่ นาย พับลิชชิ่ง, กรุงเทพฯ
592 หน้า ราคา 380 บาท

คำนำ

         ตำราวิชาปฐพีกลศาสตร์ (Soil Mechanics) เล่มนี้ ผู้เขียนได้รวบรวมจากเอกสารการสอนวิชา 410321 Soil Mechanics มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี จากปีการศึกษา 2538 ถึงปีการศึกษา 2540 ซึ่งเป็นการรวบรวมจัดพิมพ์ เขียนรูปประกอบ รวมทั้งแก้ไขเพิ่มเติมข้อบกพร่องต่าง ๆ ให้สมบูรณ์ขึ้น
         เนื้อหาของวิชา ดังมีหัวข้อในสารบาญ จัดเตรียมสำหรับการบรรยายตามเวลาของภาคการสอนที่ทางมหาวิทยาลัยกำหนดไว้ประมาณ 13 อาทิตย์ ๆ ละ 4 ชั่วโมง เพื่อให้การสอนเนื้อหามีความเหมาะสมกับเวลาที่กำหนด จะไม่รีบเร่ง หรือรวบรัด ส่วนหัวข้ออื่น ๆ ซึ่งผู้เขียนเห็นว่าคาบเกี่ยวระหว่างวิชาปฐพีกลศาสตร์ (Soil Mechanics) และวิชาวิศวกรรมฐานราก (Foundation Engineering) เป็นวิชาที่ประยุกต์ขึ้น เช่นหัวข้อการวิเคราะห์เสถียรภาพคันลาด (Slope Stability Analysis) ความดันด้านข้างของดิน (Lateral Earth Pressure) กำแพงกันดิน (Retaining Wall) เสาเข็มพืด (Sheet Pile) ค้ำยันบ่อขุด (Braced Excavation) ฯลฯ จะรวมอยู่ในวิชาวิศวกรรมฐานราก (Foundation Engineering) ที่จะได้รวบรวมจัดพิมพ์ต่อไป
         ความยาก-ง่ายของเนื้อหาวิชา เนื่องจากเป็นวิชาแรกที่นักศึกษาจะได้เริ่มเรียนในสาขาวิชาปฐพีกลศาสตร์ (Soil Mechanics) จึงมีความประสงค์ให้มีเนื้อหาครอบคลุมพื้นฐานของวิชาที่ง่ายก่อน เพื่อให้นักศึกษาได้เริ่มเข้าใจในวิชา ส่วนเนื้อหาของวิชาที่ซับซ้อนขึ้นในแต่ละหัวเรื่อง สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ในเอกสารอ้างอิงที่แนบไว้ส่วนท้ายตำรา ส่วนช่างเทคนิค และวิศวกรผู้ปฏิบัติงานสามารถคัดเลือกเฉพาะส่วนที่เกี่ยวข้องไปใช้งานจริง์
         หลังบทแต่ละบท จะมีการบ้านเป็นแบบฝึกหัดที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับบทเรียนซึ่งจะครอบคลุมในเนื้อหาในบทที่เรียนมามากที่สุด แบบฝึกหัดได้ออกแบบให้นักศึกษาได้ซักซ้อมความเข้าใจในเนื้อหาในบทมากขึ้น ในแบบฝึกหัดยังให้แนวในการแก้ปัญหาที่ถูกต้อง และรูปแบบการแสดงผล (Presentation) ในวิชาชีพที่เหมาะสม เพราะฉะนั้น ในการทำแบบฝึกหัดจงทำตามรูปแบบที่แนะนำไว้ เพราะว่าแบบฝึกหัดที่เตรียมไว้ใช้งานได้จริง ถึงแม้จะมีรูปแบบไม่เหมือนตำราปฐพีกลศาสตร์เล่มอื่น ๆ แต่มีวัตถุประสงค์ที่แน่นอน ในการทำแบบฝึกหัดต้องระมัดระวัง และตั้งใจทำทุกหัวข้อ
         ในตำรา ผู้เขียนได้พยายามใช้ศัพท์เทคนิคเป็นภาษาไทยให้มากที่สุดโดยได้อ้างอิงศัพท์วิทยาการวิศวกรรมโยธา ของวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย (2540) และศัพท์ที่ผู้เขียนกำหนดขึ้นใช้เอง ศัพท์บางคำยังไม่เป็นที่คุ้นเคย จะรู้สึกแปลกอยู่สักหน่อย แต่ได้กำกับคำศัพท์เดิมต้นฉบับไว้ทุกคำ
         อนึ่งในบางส่วนของหนังสือยังมีภาษาอังกฤษอยู่ โดยเฉพาะแผ่นข้อมูล (Data Sheet) ซึ่งผู้เขียนเห็นว่าจะเป็นการทำความคุ้นเคยกับเอกสารภาษาอังกฤษไว้บ้าง เมื่อออกไปทำงานในยุคโลกาภิวัตน์ คงจะหลีกเลี่ยงการสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษได้ยาก
         รูปต่าง ๆ ได้สรรหามาเพื่อที่จะช่วยในการอธิบายทฤษฎีได้เข้าใจง่ายขึ้น ผู้เขียนได้จัดเตรียมขึ้นใหม่ ยกเว้นรูปที่นำมาจากเอกสารอ้างอิงได้อธิบายศัพท์เป็นภาษาไทยไว้ทุกรูปและได้กำกับเอกสารอ้างอิงไว้ทุกรูป
         เนื้อหาของวิชาได้รวบรวมจากตำราต่างประเทศที่เป็นต้นตำรับของวิชา วารสารเอกสารทางวิชาทางวิชาการต่าง ๆ รวมกับประสบการณ์ของผู้เขียนที่ได้ปฏิบัติงานทางด้านวิศวกรรมธรณีเทคนิคในช่วงกว่า 20 ปี ที่ผ่านมา ซึ่งได้กรองเนื้อหาทางวิชาการที่นำมาปฏิบัติจริงรวบรวมไว้ในเอกสารเล่มนี้
         ผู้เขียนหวังว่าตำราวิชาปฐพีกลศาสตร์เล่มนี้ จะสามารถใช้เป็นความรู้พื้นฐานในการเรียนวิชาปฐพีกลศาสตร์ และวิชาประยุกต์ต่าง ๆ ในภายหลัง ผู้เขียนยินดีรับฟังข้อผิดพลาดความคิดเห็นต่างๆ จากผู้อ่าน เพื่อทำให้เอกสารมีความสมบูรณ์ขึ้นในการพิมพ์ครั้งต่อไป
         ผู้เขียนขอขอบคุณ ผู้ที่ได้ช่วยเหลือในการจัดพิมพ์เอกสารเล่มนี้ด้วยประการต่าง ๆ เขียนรูปประกอบ พิมพ์ต้นฉบับด้วยความพยายามอุตสาหะจนกระทั่งสามารถจัดพิมพ์เอกสารเป็นรูปเล่มได้
สถาพร คูวิจิตรจารุ
มกราคม 2542
บริษัท เอสพีที จีโอเทค จำกัด
18/20 ซ.วิภาวดีรังสิต 40 ถ.วิภาวดีรังสิต
เขตจตุจักร กทม 10900
โทร/แฟกซ์ 513-3088 , 513-3600
ปฐพีกลศาสตร์ ทฤษฎีและปฏิบัติการ ทดลองปฐพีกลศาสตร์ ปฐพีกลศาสตร์ การเจาะสำรวจดินทางวิศวกรรม ข้อมูลสภาพดินฯ
เชิดพันธุ์ อมรกุล และ ผศ.ดร.สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์
ศูนย์วิจัยและพัฒนาวิศวกรรมปฐพีและฐานราก  ภาควิชาวิศวกรรมโยธา   คณะวิศวกรรมศาสตร์   มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์