หน้าหลัก
เบื้องหลักการถ่ายทำ
 
          Kunzelstab Penetration Test หรือวิธี Light Ram Sounding Test เป็นวิธีการหยั่งทดสอบชั้นดินในสนาม โดยใช้แรงกระแทกส่งแท่งทดสอบผ่านชั้นดินลงไป ซึ่งแรงต้านการเคลื่อนที่ของแท่งทดสอบสามารถใช้ประมาณค่ากำลัง และความหนาของชั้นดิน ผลของการทดสอบที่ได้นี้จะทำให้ทราบสมบัติทางกายภาพของชั้นดินในเบื้องต้น
 
          วิธีการหยั่งทดสอบนี้สามารถนำไปใช้ได้อย่างกว้างขวางโดยเฉพาะการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ซึ่งใช้การสำรวจดินเบื้องต้นสำหรับการออกแบบเสาไฟฟ้า ซึ่งวิธีนี้สามารถเคลื่อนย้ายได้ง่ายเนื่องจากมีน้ำหนักเบาจึงเหมาะกับบริเวณภูเขาสูง ป่ารก หรือบริเวณที่ห่างจากถนนมากๆ วิธีนี้ทำได้อย่างรวดเร็วและประหยัดกว่าการเจาะสำรวจ แม้แต่ชั้นดินที่บางจนการเจาะสำรวจไม่สามารถแยกได้ อย่างชัดเจน ผลของการหยั่งก็ยังอาจจะสามารถบอกให้ทราบถึงการเปลี่ยนแปลงของชั้นดินนั้นได้
 
          Kunzelstab Penetration Test เป็นการทดสอบกำลังต้านทานที่ปลายของหัวหยั่ง (Cone Head) โดยไม่เกิดแรงเสียดทาน ขึ้นที่ก้านเจาะ เนื่องจากหัวเจาะมีขนาดใหญ่กว่าก้านเจาะ กล่าวคือ หัวเจาะรูปกรวยมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 25 มิลลิเมตรก้านเจาะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 20 มิลลิเมตร ค้อนตอกหนัก 10 กิโลกรัม มีระยะยก 50 เซนติเมตร ทำการทดสอบโดยนับจำนวนครั้งของการตอกทุกระยะ 20 เซนติเมตร (blows/20 cm.) ดังแสดงดังรูปที่ 1 และนำผลการทดสอบมาวิเคราะห์ดังนี้ (EGAT.,1980)
 
          1. คำนวณค่า Standard Penetration Resistance (SPT) ดังนี้
SPT = 0.539(KPT + 0.954)
  หรือใช้ Chart ดังรูปที่ 2
 
          2. คำนวณค่ากำลังรับน้ำหนักสูงสุด (Ultimate Bearing Capacity) ดังนี้
                    
Qs = 0.064(N’-3.57) Ksc. for sand
  Qc = 0.034(N’+0.954) Ksc. for clay
   N’ = 15+0.5(N-15) เมื่อ N>15
    = N เมื่อ N<15
  หรือใช้ Chart ดังรูปที่ 2 และตารางที่ 1
 
          หมายเหตุ : ค่าการรับน้ำหนักสูงสุดของทรายในตารางที่ 1 คำนวณมาจากค่ากำลังรับน้ำหนักสูงสุดที่ยอมรับได้ (Allowable Bearing Capacity) ของทรายที่ทรุดตัวลง 1 นิ้วจากฐานรากกว้าง 2 เมตร กับอัตราส่วนความปลอดภัย 2.5
 
          3. กราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ค่า Standard Penetration Tests กับ ค่ามุมเสียดทานภายในดังแสดงดังรูปที่ 3 นอกจากนี้ Mayerhof (1956) ได้ศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างค่า N (SPT), Angle of internal friction (Ø) และชื่อเรียกความแข็งแรงของชั้นดินทรายดังตารางที่ 2 และ Terzaghi and Peck (1967) ได้ศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างค่า N (SPT), Unconfined Compressive Strength (Qu) และเรียกชื่อความแข็งแรงของดินเหนียว ดังตารางที่ 3
 
รูปที่ 1 เครื่องมือทดสอบ Kunzelstab Penetration Test
ที่มา: EGAT (1980)
ตารางที่ 1 ตารางเปรียบเทียบค่าการรับน้ำหนักสูงสุดของดิน กับ Kunzelstab Penetration Test
Ultimate Bearing Capacity for 2.0 m. Width Pad Footing
N'
Qs
QN
N'
Qs
QN
N'
Qs
QN
Ton/m2
Ton/m2
Ton/m2
Ton/m2
Ton/m2
Ton/m2
1
3.7
-
28
55.6
39.1
55
107.4
82.3
2
5.7
-
29
57.5
40.7
56
109.3
83.9
3
7.6
-
30
59.4
42.3
57
111.3
85.5
4
9.5
0.7
31
61.3
43.9
58
113.2
87.1
5
11.4
2.3
32
63.3
45.5
59
115.1
88.7
6

13.3

3.9
33
65.2
47.1
60
117.0
90.3
7
15.3
5.5
34
67.1
48.7
61
118.9
91.9
8

17.2

7.1
35
69.0
50.3
62
120.9
93.5
9
19.1
8.7
36
70.7
51.9
63
122.8
95.1
10
21.0
10.3
37
72.9
53.5
64
124.7
96.7
11
23.0
11.9
38
74.8
55.1
65
126.6
98.3
12
24.9
13.5
39
76.7
56.7
66
128.6
99.9
13
26.8
15.1
40
78.6
58.3
67
130.5
101.5
14
28.7
16.7
41
80.5
59.9
68
132.4
103.1
15
30.6
18.3
42
82.5
61.5
69
134.3
104.7
16
32.5
19.9
43
84.4
63.1
70
136.2
106.3
17
34.5
21.5
44
86.3
64.7
71
138.1
107.9
18
36.4
23.1
45
88.2
66.3
72
140.1
109.5
19
38.3
24.7
46
90.1
67.9
73
142.0
111.1
20
40.2
26.3
47
92.1
69.5
74
143.9
112.7
21
42.1
27.9
48
94.0
71.1
75
145.8
114.3
22
44.1
29.5
49
95.9
72.7
76
148.8
115.9
23
46.0
31.1
50
97.8
74.3
77
149.7
117.5
24
47.9
32.7
51
99.8
75.9
78
151.6
119.1
25
49.8
34.3
52
101.7
77.5
79
153.5
120.7
26
51.7
35.9
53
103.6
79.1
80
155.4
122.3
27
53.7
37.5
54
105.5
80.7
81
157.3
125.9
ที่มา: EGAT (1980)
 
รูปที่ 2 กราฟความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนการตอกและกำลังของดินสำหรับ Sand กับ Clay
ที่มา: EGAT (1980)
 
รูปที่ 3 กราฟความสัมพันธ์ระหว่าง N (SPT) และค่า Ø  โดยประมาณ
ที่มา:Peck, Hanson and Thornburn (1973)
 
ตารางที่ 2 ความสัมพันธ์ระหว่าง N กับความแข็งแรงของดินทราย
N
(blows/ft)
KPT (EGAT)
(blows/20 cm)
Angle of internal friction, Ø (degree)
Relative density
0 – 4 0 – 6 25 – 30 very loose
4 – 10 6 – 18 27 – 32 loose
10 – 30 18 – 55 30 – 35 medium
30 – 50 55 – 92 35 – 40 dense
>50 > 92 38 - 45 very dense
ที่มา: Meyerhof (1956)
ตารางที่ 3 ความสัมพันธ์ระหว่าง N กับความแข็งแรงของดินเหนียว
N
(blows/ft)
KPT (EGAT)
(blows/20 cm)
Unconfined compressive strength, Qu (T/m2)
Consistency
< 2
0 – 3
< 2.5
very soft
2 – 4
3 – 6
2.5 – 5.0
soft
4 – 8
6 – 14
5.0 – 10.0
medium stiff
8 - 15
14 – 27
10.0 – 20.0
stiff
15 – 30
27 – 55
20.0 – 40.0
very stiff
> 30
> 55
> 40.0
hard
ที่มา: Terzaghi และ Peck (1967)
เมนูหลักแบบทดสอบก่อนเรียนบทนำทฤษฎีเครื่องมือและอุปกรณ์ 
เชิดพันธุ์ อมรกุล และ ผศ.ดร.สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์
ศูนย์วิจัยและพัฒนาวิศวกรรมปฐพีและฐานราก  ภาควิชาวิศวกรรมโยธา   คณะวิศวกรรมศาสตร์   มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์