หน้าหลัก
เบื้องหลักการถ่ายทำ
 
การเตรียมตัวอย่างดิน (ดูรูปที่ 2 ประกอบ)
          1. นำตัวอย่างดินมาตัดแต่งลงใน Consolidation ring โดยใช้ Specimen trimmer ช่วย ขนาดตัวอย่างมาตรฐานที่มักใช้ทดลองคือเส้นผ่าศูนย์กลาง 2.5 นิ้วและหนา 1 นิ้ว
 
 
          2. วัดขนาดตัวอย่างและชั่งน้ำหนักเพื่อจะคำนวณหาความหนาแน่นและ Initial void ratio ต่อไป, ส่วนดินที่เหลือจากการตัดแต่งให้นำไปหาความชื้น ซึ่งเป็นความชื้นของตัวอย่างก่อนทดลอง
 
          3. นำตัวอย่างดินติดตั้งใน Consolidation ซึ่งมักจะมีหินพรุน (Porous stone) ประกอบทั้งของบนและล่างตัวอย่าง เพื่อให้น้ำภายในตัวอย่างไหลออกได้สะดวก
 
  
รูปที่ 2 Consolidation Apparatus
          4. นำ Consolidometer เข้าติดตั้งใน Loading frame ติด dial gage สำหรับวัดการทรุดของตัวอย่าง (อ่านได้ละเอียดถึง 0.0001 นิ้ว) แล้วหล่อน้ำใน Consolidometer ให้ระดับน้ำอยู่เหนือระดับดินตัวอย่าง
การบรรทุกน้ำหนักและบันทึกข้อมูล
          1. ก่อนเริ่มบรรทุกน้ำหนักบนตัวอย่างต้องเตรียมอุปกรณ์เหล่านี้ให้พร้อม เช่น แบบบันทึกข้อมูล, นาฬิกาจับเวลา, ตุ้มน้ำหนัก
          2. น้ำหนักบรรทุกที่จะใช้ จะวางบนคานซึ่งสามารถขยายน้ำหนักให้กดลงบนตัวอย่างดินมักเป็น 10 เท่าของน้ำหนักจริง ขนาดน้ำหนักที่จะใช้ขึ้นอยู่กับความลึกของตัวอย่าง โดยพิจารณาว่าจะต้องเริ่มต้นด้วยความดันที่น้อยกว่า Overburden pressure, Po แล้วเพิ่มจนมากกว่า เช่น ตัวอย่างดินจากความลึก 10 ม.
Po = 12     T/m2     หรือ    1.2    KSC.
          เพราะฉะนั้น ความดันที่จะใช้กดตัวอย่างอยู่ระหว่าง 0.25 – 10 KSC. ถ้าเป็นน้ำหนักก็จะใช้เป็นตัวเลขลงตัวเช่น 1, 2, 4, 8, 16, ... กก. เป็นต้น
          3. วางน้ำหนักชุดแรกแล้วเริ่มบันทึกเวลาพร้อมๆ กับ Dial gage จะหมุนไปด้วยจะอ่าน Dial ณ เวลาต่างๆ ดังนี้ 0.25, 0.5, 1.0, 2.0, 4, 8, 15, 30 นาที และ 1, 2, 4,... ชม. นับจากเริ่มต้น
          4. เขียนกราฟ ระหว่าง Dial reading และ ในระหว่างบันทึกข้อมูลเพื่อทราบลักษณะกราฟของการทรุดตัว
          5. หลังจากทิ้งไว้ประมาณ 24 ชม. จะต้องเพิ่มน้ำหนักชุดที่ 2 โดยปฏิบัติ เช่นเดียวกัน ข้อ 3 และ 4 จนครบชุดน้ำหนักที่จะต้องใส่
          6. ถ้าต้องการทราบคุณสมบัติของดินในการยึดตัวจากการลดน้ำหนัก ก็ให้ทำ เช่นเดียวกันโดยเอาตุ้มน้ำหนักออกแล้วทิ้งไว้ 24 ชม.
          7. หลังจากเสร็จการทดลองต้องนำตัวอย่างดินไปหาความชื้นด้วย
 
   
ผู้ทดสอบ : นายพรณรงค์ เลื่อนเพชร
   
สถานที่ : ห้องปฏิบัติการปฐพีกลศาสตร์
  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน
   
ผู้บรรยาย : นางสาวธรรมธิดา รัตนประทีป
เมนูหลักแบบทดสอบก่อนเรียนบทนำทฤษฎีเครื่องมือและอุปกรณ์วิธีการทดลองการคำนวณผลการทดลองแบบทดสอบหลังเรียน 
เชิดพันธุ์ อมรกุล และ ผศ.ดร.สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์
ศูนย์วิจัยและพัฒนาวิศวกรรมปฐพีและฐานราก  ภาควิชาวิศวกรรมโยธา   คณะวิศวกรรมศาสตร์   มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์