หน้าหลัก
เบื้องหลักการถ่ายทำ
 
ก. การทดสอบ Standard Proctor ใช้ mold Ø 4" x 4.6"
         1. วัดขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางและความสูงของ mold พร้อมทั้งคำนวณหาปริมาตรของ mold
   
         2. ชั่งน้ำหนักของ mold ให้ได้ละเอียดถึง 0.1 กรัม
   
         3. ชั่งน้ำหนักดินตัวอย่างที่เตรียมไว้มาอย่างน้อย 4 กก. ผสมน้ำลงไป 3 - 4% คลุกเคล้ากันให้ทั่วจนได้ ความชื้นของดินสม่ำเสมอกันตลอด
   
         4. ตักดินใส่ใน mold ที่ประกอบ collar และ base plate แล้วกะแบ่งปริมาตรของดินที่ใส่ให้ได้จำนวน 3 ชั้นเท่าๆ กัน เมื่อ compact เสร็จแล้ว ขั้นสุดท้ายให้เหลือพ้นส่วนบนของ mold เล็กน้อย ประมาณ 1-2 ซ.ม.
   
         5. ใช้ hammer ขนาด 5.5 lb. Compact ดินใน mold ในแต่ละชั้น ชั้นละ 25 ครั้ง และต้องพยายาม compact ให้ได้ความแน่นของดินในแต่ละชั้นสม่ำเสมอเท่ากันโดยตลอดขณะ Compact ตัว mold จะต้องวางบนพื้นคอนกรีตที่เรียบและแข็ง
   
         6. เมื่อ compact ครบจำนวนครั้งแล้วถอด collar ของ mold ออก ใช้บรรทัดเหล็กปาดดินส่วนที่สูงเกินปาก mold ออก และอุดแต่งผิวดินให้เรียบเสมอปาก mold ใช้แปรงปัดทำความสะอาดดินที่ค้างอยู่นอก mold แล้วถอด base plate ออก นำไปชั่งหาน้ำหนักดินใน mold ให้ได้ละเอียดถึง 0.1 กรัม
         7. ดันแท่งตัวอย่างดินออกจาก mold แล้วผ่ากลางตามแนวตั้ง เก็บดินตัวอย่างตามแนวผ่านี้อย่างน้อย 100 กรัม ไปชั่งน้ำหนักและเข้าอบในเตาอบเพื่อคำนวณหาปริมาณความชื้นต่อไป
         8. เอาตัวอย่างที่เตรียมไว้มาอย่างน้อย 4 กก. แล้วผสมน้ำเพิ่มอีกประมาณ 3% คลุกเคล้ากันให้ทั่วสม่ำเสมอ แล้วทำการทดลองซ้ำตามข้อ 4 ถึง 7 จนกระทั่งน้ำหนักดินใน mold ที่ชั่งได้ครั้งสุดท้ายลดลง และอย่างน้อยควรจะเปลี่ยนหรือเพิ่มปริมาณน้ำถึง 5 ครั้ง
ข. การทดลอง Modified Proctor ใช้ mold Ø 6” x 5.0”
         1. วัดขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางและความสูงของ mold พร้อมทั้งคำนวณหาปริมาตรของดินใน mold
         2. ชั่งน้ำหนักของตัว mold ให้ได้ละเอียดถึง 0.1 กรัม
         3. ชั่งน้ำหนักดินที่เตรียมไว้มาอย่างน้อย 7 กก. ผสมน้ำลงไป 3-4 เปอร์เซ็นต์ คลุกเคล้ากันให้ทั่วจนได้ความชื้นในดินสม่ำเสมอกันตลอด
         4. ตักดินใส่ใน mold ที่ประกอบด้วย Collar, base plate และ spacer disc เรียบร้อยแล้วกะแบ่งปริมาณดินที่ใส่ให้ได้จำนวน 5 ชั้นเท่า ๆ กัน เมื่อ compact แล้ว ชั้นสุดท้ายให้เหลือพ้นปาก mold เล็กน้อย ประมาณ 1.0 ซ.ม.
         5. ใช้ hammer ขนาด 10 lb. compact ดินใน mold ในแต่ละชั้นให้ได้ชั้นละ 56 ครั้ง และต้องพยายาม compact ให้ได้ความหนาแน่นของดินในแต่ละชั้นสม่ำเสมอเท่ากันโดยตลอด ขณะ compact ตัว mold จะต้องวางบนพื้นคอนกรีตที่เรียบและแข็ง
         6. เมื่อ compact ครบจำนวนครั้งแล้วถอด collar ของ mold ออก ใช้บรรทัดเหล็กปาดดินส่วนที่สูงเกินปาก mold ออก และอุดแต่งผิวดินให้เรียบเสมอปาก mold ใช้แปรงปัดทำความสะอาดดินที่ค้างอยู่นอก mold ถอด base plate ออก นำ mold ไปชั่งน้ำหนักให้ได้ละเอียดถึง 0.1 กรัม
         7. ดันตัวอย่างดินออกจาก mold แล้วผ่ากลางตามแนวตั้ง เก็บดินตัวอย่าง อย่างน้อย 500 กรัม ไปชั่งหาน้ำหนักแล้วเข้าเตาอบเพื่อคำนวณหาปริมาณความชื้นต่อไป
         8. เอาตัวอย่างที่เตรียมไว้มาอย่างน้อย 7 กก. แล้วผสมน้ำเพิ่มอีกประมาณ 3% ลงไปคลุกเคล้าให้ทั่ว แล้วทำการทดลองซ้ำตามข้อ 4 ถึง 7 จนกระทั่งน้ำหนักดินใน mold ที่ชั่งได้ครั้งสุดท้ายลดลง และอย่างน้อยควรจะเปลี่ยนหรือเพิ่มปริมาณน้ำถึง 5 ครั้ง
   
ผู้ทดสอบ : นายวรวัชร์ ตอวิวัฒน์
   
สถานที่ : ห้องปฏิบัติการปฐพีกลศาสตร์
  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร
   
ผู้บรรยาย : นางสาวธรรมธิดา รัตนประทีป
เมนูหลักแบบทดสอบก่อนเรียนบทนำทฤษฎีเครื่องมือและอุปกรณ์การเตรียมตัวอย่างดินวิธีการทดลองการคำนวณผลการทดลองแบบทดสอบหลังเรียน 
เชิดพันธุ์ อมรกุล และ ผศ.ดร.สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์
ศูนย์วิจัยและพัฒนาวิศวกรรมปฐพีและฐานราก  ภาควิชาวิศวกรรมโยธา   คณะวิศวกรรมศาสตร์   มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์