หน้าหลัก
เบื้องหลักการถ่ายทำ
 
ก. การหากราฟสำหรับหาน้ำหนักน้ำและขวดที่อุณหภูมิต่าง ๆ
          เมื่อนำขวดหา ถ.พ. ใหม่มาใช้ หรือ เมื่อใช้ไปนานพอสมควร ควรจะต้องทำการหากราฟความสัมพันธ์ของน้ำหนักขวดมีน้ำเต็ม และ อุณหภูมิ โดยทำได้ดังนี้
          1. ล้างขวด ถ.พ. ให้สะอาดเติมน้ำกลั่นลงไปจนถึงขีดที่คอขวด (อ่านที่ระดับท้องน้ำ)
ขั้นตอนที่ 1
ขั้นตอนที่ 2
          2. ต้มไล่ฟองอากาศหรือดูดโดยปั๊มสุญญากาศประมาณ 10 นาที จนฟองอากาศหมด
          3. เติมน้ำปรับระดับน้ำจนเสมอระดับที่คอขวดพอดี เช็ดภายนอกขวดให้แห้ง แล้วนำไปชั่งน้ำหนัก
ขั้นตอนที่ 3
ขั้นตอนที่ 4
          4. วัดอุณหภูมิของน้ำภายในขวดให้ละเอียด โดยวัดที่หลายระดับ ถ้าอุณหภูมิต่างกันมาก ให้ตะแคง ขวดแล้วกลิ้งไปมาเพื่อให้ผสมเข้ากันดีทำให้อุณหภูมิสม่ำเสมอแล้วจึงบันทึกอุณหภูมิที่ถูกต้อง
          5. ทำเช่นเดียวกับข้อ 3 และ 4 โดยให้ความร้อนหรือทำให้เย็นลงในช่วงอุณหภูมิที่ใช้งาน (20 ถึง 40c) ประมาณ 4–5 จุด เช่นที่ 20, 25, 30, 35 และ 40c เป็นต้น
          6. เขียนกราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่าง น้ำหนักขวดที่มีน้ำเต็ม และอุณหภูมิดังแสดงในตัวอย่างรูป
ข. การทดลองหาความถ่วงจำเพาะของดิน
          1. นำดินตัวอย่างที่แห้งประมาณ 50 กรัม (ถ้าเป็นดินชื้นต้องเผื่อน้ำหนักความชื้น) ผสมน้ำกลั่นแล้วกวนให้เข้ากัน โดยใช้เครื่องปั่น (Mixer Machine) โดยให้ส่วนผสมไม่เกิน 200 ลบ.ซม.
    
          2. เทส่วนผสมน้ำดินลงในขวดหา ถ.พ. ขนาด 250 ลบ.ซม. แล้วใช้น้ำกลั่นล้างดินที่ติดในภาชนะผสมลงในขวด ถ.พ.ให้หมดระวังอย่าให้ระดับน้ำเกินขีดวัดปริมาตรที่คอขวด
     
          3. ไล่ฟองอากาศโดยการต้มหรือดูดโดยปั๊มสุญญากาศประมาณ 10 นาที จนฟองอากาศหมด แล้วเติมน้ำกลั่นให้ถึงระดับขีดที่คอขวด แล้วปล่อยให้เย็นถึงอุณหภูมิห้องทดลอง
 
ขั้นตอนที่ 3
ขั้นตอนที่ 4
          4. ถ้าระดับน้ำลดลงอีก ให้เติมให้เต็มถึงขีด แล้วนำไปชั่งให้ละเอียดถึง 0.1 กรัม แล้ววัดอุณหภูมิของน้ำดินในขวด
          5. เทแล้วล้างส่วนผสมในขวด ถ.พ. ลงในถาด นำไปอบให้แห้งเพื่อชั่งหาน้ำหนักดินที่แน่นอนอีกครั้ง
 
   
ผู้ทดสอบ : นายสุปรีชา ฟุ้งกีรติ
   
สถานที่ : ห้องปฏิบัติการปฐพีกลศาสตร์
  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร
   
ผู้บรรยาย : นายบรรพตุ กุลสุวรรณ
เมนูหลักแบบทดสอบก่อนเรียนบทนำทฤษฎีเครื่องมือและอุปกรณ์วิธีการทดลองการคำนวณผลการทดลองแบบทดสอบหลังเรียน 
เชิดพันธุ์ อมรกุล และ ผศ.ดร.สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์
ศูนย์วิจัยและพัฒนาวิศวกรรมปฐพีและฐานราก  ภาควิชาวิศวกรรมโยธา   คณะวิศวกรรมศาสตร์   มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์