|
|
ศูนย์วิจัยฯ ร่วมกับ สำนักธรณีวิทยาสิ่งแวดล้อม กรมทรัพยากรธรณี จัดการสัมมนา
|
ทิศทางการเตือนภัยดินถล่มในประเทศไทย |
ภายใต้ โครงการศึกษาพัฒนาระบบแบบจำลองเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการเฝ้าระวัง แจ้งเตือนภัยดินถล่มในพื้นที่ภาคใต้และภาคเหนือ |
ในวันอังคารที่ 20 พฤศจิกายน 2555 เวลา 09.00-13.00 น. |
ณ ห้องแกรนด์ฮอลล์ 1 โรงแรมรามา การ์เด้นท์, กรุงเทพฯ |
|
|
|
สำนักธรณีวิทยาสิ่งแวดล้อม กรมทรัพยากรธรณี ร่วมกับ ศูนย์วิจัยและพัฒนาวิศวกรรมปฐพีและฐานราก คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จัดสัมมนาความรู้ เรื่อง “ทิศทางการเตือนภัยดินถล่มในประเทศไทย” ภายใต้โครงการศึกษาพัฒนาระบบแบบจำลองเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการเฝ้าระวังแจ้งเตือนภัยดินถล่มในพื้นที่ภาคใต้ (15 จังหวัด) และภาคเหนือ (17 จังหวัด) โดยมีนายเลิศสิน รักษาสกุลวงศ์ ผู้อำนวยการสำนักธรณีวิทยาสิ่งแวดล้อม กล่าวเปิดการสัมมนา วิทยากรประกอบด้วย รศ.ดร.สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมดินถล่ม และนายทรงธรรม ประวัติโยธิน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ให้เกียรติบรรยายให้ผู้เข้าร่วมฟังครั้งนี้ ณ โรงแรมรามาการ์เดนส์ เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2555 ที่ผ่านมา |
|
|
วัตถุประสงค์ของโครงการเพื่อศึกษาและเตรียมพร้อมหาทิศทางในการป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินการเฝ้าระวังพิบัติภัยดินถล่ม และลดผลกระทบด้านพิบัติภัยดินถล่ม ต่อประชาชนได้อย่างยั่งยืน โดยในงานนี้มีผู้เข้าร่วมสัมมนาทั้งสิ้น 213 คน มาจากหน่วยงานต่างๆ ดังแสดงในรูป |
|
|
สรุปรายละเอียดโครงการ |
|
พิบัติภัยดินถล่มเป็นภัยพิบัติธรรมชาติ ที่สร้างความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินเป็นอย่างมาก ทั้งทางตรงและทางอ้อม กล่าวคือ ความเสียหายทางตรงได้แก่ ความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากภัยดินถล่ม และความเสียหายทางอ้อมได้แก่ ความเสียหายทางด้านเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศเป็นต้น กรมทรัพยากรธรณี ในฐานะหน่วยงานที่มีบทบาทหน้าที่ในการเฝ้าระวังและแจ้งเตือนภัย เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในภารกิจหลัก จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาพัฒนาระบบแบบจำลองเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการเฝ้าระวังแจ้งเตือนภัยพื้นที่ภาคใต้และภาคเหนือ ให้สามารถแสดงพื้นที่เสี่ยงภัยต่อการเกิดดินถล่มในระดับตำบลและอำเภอ ที่เปลี่ยนแปลงไปตามสภาพอากาศ ด้วยเหตุนี้ ศูนย์วิจัยและพัฒนาวิศวกรรมปฐพีและฐานราก คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในฐานะที่ปรึกษาโครงการฯ ได้เสนอ ระบบการวิเคราะห์พื้นที่อ่อนไหวต่อดินถล่มแบบพลวัติ โดยอาศัยหลักทฤษฎีทางธรณีวิศวกรรมเป็นหลัก 2 ประการ คือ ทฤษฎีการวิเคราะห์การไหลซึมของน้ำผ่านมวลดินที่ไม่อิ่มตัวด้วยน้ำ (Infiltration in Unsaturated Soil) และทฤษฎีการวิเคราะห์เสถียรภาพของลาดดินแบบลาดอนันต์ (Infinite Slope Stability) ตามพฤติกรรมของกำลังรับแรงเฉือนของดินที่ลดลงเมื่อดินมีสภาวะความอิ่มตัวที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากปริมาณน้ำฝน สำหรับข้อมูลคุณสมบัติทางธรณีวิศวกรรมที่นำมาใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้มาจากงานวิจัยและโครงการวิจัยต่างๆ ที่ดำเนินโครงการโดย ศูนย์วิจัยฯ ร่วมกับการสำรวจและเก็บตัวอย่างดินในสนามเพิ่มในการดำเนินโครงการนี้ด้วย การศึกษา ได้ทำการศึกษาด้านธรณีวิทยาและจัดกลุ่มชุดหินใหม่ในด้านของกลุ่มชุดหินที่มีความอ่อนไหวต่อดินถล่มจากข้อมูลธรณีวิทยาในมาตรส่วน 1: 250,000 โดยกรมทรัพยากรธรณี ซึ่งจัดกลุ่มได้เป็น 11 กลุ่มชุดหินทั่วประเทศ แต่มีเพียง 8 กลุ่มชุดหินที่มีศักยภาพความอ่อนไหวต่อดินถล่ม จากคุณสมบัติทางธรณีวิศวกรรมของแต่ละกลุ่มชุดหิน อันได้แก่ คุณสมบัติด้านการไหลซึม และคุณสมบัติด้านกำลังรับแรงเฉือนของดินเมื่อความชื้นในดินเปลี่ยนไป นำมาสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์เพื่อวิเคราะห์พื้นที่อ่อนไหวต่อดินถล่มที่เปลี่ยนไปตามสภาพอากาศ โดยมีความละเอียดของขนาดพื้นที่ในการวิเคราะห์เท่ากับ 30x30 เมตร ตามข้อมูลระดับความสูง (Elevation) และความลาดชัน (Slope) ที่ได้จากข้อมูลแบบจำลองระดับความสูงเชิงเลข (Digital Elevation Model, DEM) ของกรมพัฒนาที่ดิน รูปแบบการวิเคราะห์พื้นที่อ่อนไหวต่อดินถล่มแบบพลวัตินี้จะสามารถใช้คาดการณ์พื้นที่ระดับความอ่อนไหวต่อดินถล่มตามข้อมูลปริมาณน้ำฝนรายชั่วโมงล่วงหน้าอย่างน้อย 24 ชั่วโมง ซึ่งจะเป็นเครื่องมือช่วยในการติดตามสถานการณ์และตัดสินใจในภารกิจการเฝ้าระวังและแจ้งเตือนภัยของกรมทรัพยากรธรณีต่อไป |
|
Download เอกสารประกอบการบรรยาย |
|
|
|
Download โปสเตอร์สรุปผลการดำเนินงาน |
|
|
คลิกที่ภาพ เพื่อขยายรูป |
[1] รายละเอียดโครงการฯ
[2] แบบจำลองธรณีวิศวกรรมดินถล่ม
[3] กลุ่มชุดหินทางธรณีวิศวกรรมที่มีความอ่อนไหวต่อการเกิดดินถล่มในประเทศไทย
[4] ระบบการเตือนภัยดินถล่ม
[5] ระบบการเตือนภัยดินถล่ม (ต่อ)
[6] การพัฒนาระบบการเตือนภัยดินถล่ม
[7] แบบจำลองธรณีวิศวกรรมดินถล่มเชิงพลวัติ |
|
บรรยากาศการสัมมนา |
|
|
|
รายละเอียดการจัดสัมมนา |
หลักการและเหตุผล |
พิบัติภัยดินถล่มเป็นภัยธรรมชาติ ที่สร้างความเสียหายทั้งทางด้านชีวิตและทรัพย์สิน อย่างเช่นเหตุการณ์ดินถล่มครั้งใหญ่ที่ จังหวัดนครศรีธรรมราช เมื่อปี พ.ศ. 2531 มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บ จำนวน 242 คน มีมูลค่าความเสียหายสูงถึง 1,000 ล้านบาท ดินถล่มที่จังหวัดเพชรบูรณ์ เมื่อปี พ.ศ. 2544 มีผู้เสียชีวิต จำนวน 136 คน มีมูลค่าความเสียหายสูงถึง 645 ล้านบาท และดินถล่มที่จังหวัดอุตรดิตถ์ เมื่อปี 2549 มีผู้เสียชีวิต จำนวน 83 คน มีมูลค่าความเสียหายสูงถึง ๓๐๘ ล้านบาท รวมทั้งในระยะ 10 ปีที่ผ่านมา พิบัติภัยดินถล่มมีแนวโน้มเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและบ่อยครั้งขึ้น ส่งผลโดยตรงกับชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนทั้งด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน รวมทั้งสุขภาพจิตของผู้ที่มีแนวโน้มที่จะได้รับผลกระทบ ผลกระทบอีกด้านหนึ่งคือผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจและความมั่นคงของประเทศซึ่งเป็นผลกระทบที่ส่งผลต่อประชากรทั้งประเทศ |
|
กรมทรัพยากรธรณี โดยศูนย์ปฏิบัติการธรณีพิบัติภัย จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาระบบแบบจำลองเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการเฝ้าระวังแจ้งเตือนภัย ซึ่งจะแสดงพื้นที่เสี่ยงภัยต่อการเกิดดินถล่มในระดับตำบลและอำเภอ ที่เปลี่ยนแปลงไปตามสภาพอากาศ ในแต่ละช่วงเวลา ซึ่งจะสามารถนำไปใช้ในเฝ้าระวังและแจ้งเตือนภัยดินถล่ม ให้แก่เครือข่ายและประชาชนทั่วไปได้อย่างถูกต้องแม่นยำ อันจะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินการเฝ้าระวังพิบัติภัยดินถล่มของกรมทรัพยากรธรณี และลดผลกระทบด้านพิบัติภัยดินถล่ม ต่อประชาชน ได้อย่างยั่งยืน |
|
วัตถุประสงค์ |
1. เพื่อศึกษาพัฒนาระบบการวิเคราะห์พื้นที่อ่อนไหวต่อการเกิดดินถล่มแบบพลวัติ บริเวณพื้นที่ภาคใต้และภาคเหนือของประเทศไทย ซึ่งสามารถนำไปใช้ในการเฝ้าระวังแจ้งเตือนภัยดินถล่มได้ในระดับตำบล
2. เพื่อหาความสัมพันธ์ของข้อมูลธรณีวิทยา ปริมาณน้ำฝนจากข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียม ในพื้นที่ภาคใต้และภาคเหนือ เพื่อสนับสนุนการสร้างแผนที่พื้นที่อ่อนไหวต่อดินถล่มแบบพลวัติ
|
|
ขอบเขตการศึกษา |
ขอบเขตการศึกษาจัดทำระบบการวิเคราะห์พื้นที่อ่อนไหวต่อการเกิดดินถล่มแบบพลวัต ิครอบคลุมพื้นที่รับผิดชอบสำนักงานทรัพยากรธรณีเขต 1 (ลำปาง) จำนวน 17 จังหวัด อันได้แก่ จังหวัดกำแพงเพชร เชียงราย เชียงใหม่ ตาก นครสวรรค์ น่าน พะเยา พิจิตร พิษณุโลก เพชรบูรณ์ แพร่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง ลำพูน สุโขทัย อุตรดิตถ์ อุทัยธานี และสำนักงานทรัพยากรธรณีเขต 4 (สุราษฎร์ธานี) จำนวน 15 จังหวัด อันได้แก่ จังหวัดกระบี่ ชุมพร ตรัง นครศรีธรรมราช นราธิวาส ประจวบคีรีขันธ์ ปัตตานี พังงา พัทลุง ภูเก็ต ยะลา ระนอง สงขลา สตูล สุราษฎร์ธานี |
|
กำหนดการ |
08.00-09.00 |
ลงทะเบียนผู้เข้าร่วมสัมมนา |
09.00-09.30 |
พิธีเปิดการสัมมนา |
09.30-09.50 |
สรุปผลการดำเนินโครงการศึกษาพัฒนาระบบแบบจำลองเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการเฝ้าระวัง แจ้งเตือนภัยดินถล่มในพื้นที่ภาคใต้และภาคเหนือ
โดย รศ.ดร.สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์ |
09.50-10.10 |
พักรับประทานอาหารว่าง |
10.10-11.00 |
ความรู้เกี่ยวกับภัยดินถล่มและการพัฒนาแบบจำลองการวิเคราะห์พื้นที่อ่อนไหวต่อดินถล่ม
โดย รศ.ดร.สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์ |
11.00-11.30 |
การพัฒนาโปรแกรมและสาธิตการใช้งานระบบการวิเคราะห์พื้นที่อ่อนไหวต่อการเกิดถล่ม
โดย นายทรงธรรม ประวัติโยธิน |
11.30-12.00 |
ตอบข้อซักถามและคำแนะนำ/ ปิดการสัมมนา |
12.00-130.00 |
เชิญรับประทานอาหารกลางวัน |
|
- - - |