HomeAbout usNewsPaperPresentationLibraryGraduate School at KU
 
 
 
คลิกเพื่อขยายรูป การสัมมนาทางวิชาการและการแสดงนิทรรศการ
วิศวกรรมปฐพีและฐานราก’52
 
ระหว่างวันที่ 11-12 พฤศจิกายน 2552
ณ ห้องรัชดาบอลรูม ชั้น 6 โรงแรม เอส ซี ปาร์ค
 

 

 
จัดโดย คณะอนุกรรมการสาขาวิศวกรรมปฐพี
คณะกรรมการสาขาวิศวกรรมโยธา
วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์

คำนำ

         วิศวกรรมปฐพีและฐานราก เป็นองค์ประกอบที่สำคัญของโครงสร้างอาคาร เพื่อให้การออกแบบและการก่อสร้างงานอาคารมีความมั่นคงและปลอดภัย โดยมีกรณีศึกษาที่ท้าท้ายน่าสนใจให้ศึกษาเพิ่มเติม คณะอนุกรรมการสาขาวิศวกรรมปฐพี ภายใต้คณะกรรมการสาขาวิศวกรรมโยธา วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ เล็งเห็นความสำคัญในข้อนี้จึงได้จัดการสัมมนาทางวิชาการพร้อมการแสดงนิทรรศการ วิศวกรรมปฐพีและฐานราก’52 ในการจัดครั้งนี้ไม่เพียงแต่จะมีองค์ความรู้แค่งานฐานรากเท่านั้น ยังได้รวบรวมองค์ความรู้งานด้านวิศวกรรมปฐพี กรณีศึกษาที่สำคัญๆ ครอบคลุมกว่า 20 กรณีศึกษาที่เกิดขึ้นในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา เพื่อให้ผู้เข้าร่วมการสัมมนาในครั้งนี้ได้รับประสบการณ์ จากผู้เชี่ยวชาญในงานด้านเสาเข็ม งานวัสดุสังเคราะห์ งานขุดดิน งานอุโมงค์ พร้อมกันนี้ได้เชิญบริษัทต่างๆ มาแสดงนิทรรศการเพื่อนำเสนอวิทยาการใหม่ๆในผลิตภัณฑ์ ที่เกี่ยวข้องกับงานวิศวกรรมปฐพีและฐานราก
         คณะอนุกรรมการสาขาวิศวกรรมปฐพี ในคณะกรรมการสาขาวิศวกรรมโยธา จึงได้จัดการสัมมนาครั้งนี้ขึ้นเพื่อให้ผู้ที่มีประสบการณ์ได้มาแลกเปลี่ยนความรู้และถ่ายทอดประสบการณ์ให้แก่สมาชิก และผู้ที่สนใจ
         ทั้งนี้คณะอนุกรรมการสาขาวิศวกรรมปฐพี ภายใต้คณะกรรมการสาขาวิศวกรรมโยธา วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) ขอขอบคุณ ท่านวิทยากร ผู้เข้าร่วมสัมมนา รวมถึงบริษัทต่างๆ ที่ให้การสนับสนุนการจัดงานสัมมนาทางวิชาการและการแสดงนิทรรศการ เรื่องวิศวกรรมปฐพีและฐานราก’52
คณะอนุกรรมการสาขาวิศวกรรมปฐพี
ในคณะกรรมการสาขาวิศวกรรมโยธา วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัม
9 พฤศจิกายน 2552
 

สารบัญ


งานทดสอบและก่อสร้างเสาเข็มเจาะ โครงการ ENCO

มนูญ  อารยะศิริ  

ฐานรากเสาเข็มขนาดใหญ่สำหรับ LNG Tank
ดร.เซี้ย  เทียนโฮ 

การประยุกต์ใช้กำแพงกันดินระบบไดอาแฟรมวอลล์ในงานก่อสร้างห้องใต้ดิน
ณรงค์  ทัศนนิพันธ์ และ ชาญชัย  ทรัพย์มณีวงศ์   

กำลังรับน้ำหนักของเสาเข็มเจาะในกรุงเทพฯ
ณรงค์  ทัศนนิพันธ์, ชาญชัย  ทรัพย์มณีวงศ์ และ ชยานันท์  บุณยรักษ์

กรณีศึกษาการวิบัติเนื่องจากการขุดดินเพื่อการพาณิชย์
รศ.ดร.วัชรินทร์  กาสลัก

การวิเคราะห์การปรับปรุงคุณภาพดินด้วยเสาเข็มดินซีเมนต์เพื่อเสริมฐานรากคันทาง

ผศ.ดร.พรเกษม  จงประดิษฐ์, ผศ.ดร.สมโพธิ  อยู่ไว, รศ.เกษม  เพชรเกตุ
และ ดร.วรัช  ก้องกิจกุล

ข้อแนะนำการเสริมกำลังด้วยเสาเข็มดินซีเมนต์ของลาดดินเหนียวอ่อนมาก
ผศ.ดร.ธนาดล  คงสมบูรณ์ 

 

โครงการก่อสร้างอุโมงค์และสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินระ่ยะที่ 2 สัญญาที่ BC-24

กมล มหาผล และ นพพร รันตฉายาบรรณ

นวัตกรรมการก่อสร้างอุโมงค์รถไฟฟ้าใต้ดินในกรุงเทพ
รศ.ดร.สุชัชวีร์  สุวรรณสวัสดิ์

Design of Underground Railway Structure in the Airport Rail Link Extension Projects      
ประเทือง  อินคุ้ม

สระเก็บน้ำในพื้นที่ดินทรายนวัตกรรมสนับสนุนทฤษฎีใหม่ในพื้นที่แล้ง
ดร.ฉัตรภูมิ  จันทรรัตน์ 

งานขุดชั้นใต้ดินลึกอาคารสำนักงานใหญ่ธนาคารแห่งประเทศไทย ติดวังเทวะเวสม์ริมแม่น้ำเจ้าพระยา
รศ.ดร.วันชัย  เทพรักษ์ 

แนวคิดในการออกแบบฐานรากอาคารสูงแบบฐานแผ่บนเสาเข็มในกรุงเทพมหานคร
รศ.ดร.นพดล  เพียรเวช, กมล  อมรฟ้า และ พงษ์ภัทร  กิจพยัคฆ์

ปัญหาการทรุดตัวของฐานรากเขื่อนกันคลื่นกัดเซาะบริเวณชายฝั่งกรุงเทพฯ
รศ.ดร.นพดล  เพียรเวช และ ทวีพงษ์  สุขสวัสดิ์ 

การเพิ่มเสถียรภาพลาดดินในการก่อสร้างอาคารบนไหล่เขา
ดร.พิชิต  จำนงพิพัฒน์กุล และ คุณกุลภัธ์  พิสิษฐ์กุล

การก่อสร้างฐานรากอาคารบนไหล่เขา : กรณีศึกษาการก่อสร้างเจดีย์วัดเขาสุกิม
ผศ.ดร.สุทธิศักดิ์  ศรลัมพ์ 

ความสำคัญของแรงดันน้ำด้านลบหรือแรงดูดในงานวิศวกรรมปฐพี
อ.ดร.อภินิติ  โชติสังกาศ

การประยุกต์ใช้วัสดุเสริมแรงในงานแก้สไลด์       
ดร.มนตรี  เดชาสกุลสม และ ดร.จิรโรจน์  ศุกลรัตน์ 

วัสดุสังเคราะห์ทางธรณีวิศวกรรมสำหรับภาวะโลกร้อน
ณัฐพงศ์์  โกวิทยานันต์

การพัฒนาเครื่องหมุนเหวี่ยงทางเทคนิคธรณีในประเทศไทย
            
ผศ.ดร.กิติเดช  สันติชัยอนันต์

งานนิติวิศวกรรมในการสอบสวน วินิจฉัย และการซ่อมแซมอาคารทรุดเอียงในประเทศไทย    
        
สืบศักดิ์ พรหมบุญ และณัฐวุธ ขาวศรี

ฐานรากและการจัดเรียงหินปราสาทพนมวัน      
ธเนศ  วีระศิริ